วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สารพันปัญหา ท่าร่วมรัก (ตอนจบ)


ท่าร่วมรัก
สารพันปัญหา...ท่าร่วมรัก (ตอนจบ)

ว่ากันว่าท่าที่ผู้หญิงเจ็บน้อยที่สุดคือท่าที่ผู้หญิงอยู่ข้างบน

    แม่นแล้ว แถมม่วนหลายด้วยเพราะในท่าที่เรียกว่า Woman on top นั้นเป็นท่วงท่าที่ผู้หญิงสามารถที่จะควบคุมการสอดใส่ให้เป็นไปในทิศทางของมุมตกมุมกระทบที่สอดคล้องกับช่องทางสวรรค์ของเธอ นอกจากนี้ผู้หญิงที่มีความสามารถจะรู้จักการควบคุมกล้ามเนื้อโดยรอบช่องคลอด

    ให้คลายออกด้วยการเบ่งเหมือนเบ่งถ่ายอุจจาระแต่เป็นการคลายกล้ามเนื้อรอบช่องคลอดไปในตัว ก็จะทำให้ช่องคลอดของเธอสามารถที่จะขยายตัวรับกับขนาดของเขาคนนั้นได้เป็นอย่างดี


    และถ้าเธอรู้จักการบีบรัดช่องคลอดด้วยการฝึกขมิบก้นเป็นการทำให้กล้ามเนื้อช่องคลอดหดตัวก็จะสามารถทำให้ช่องคลอดของเธอรับกับขนาดของเขาคนนั้น

    ที่อาจมีขนาดต่ำกว่ามาตรฐานไปบ้างทำให้เกิดการฟิตแน่นและได้รับความสุขจากการสัมผัสที่ลึกซึ้งด้วยกันอย่างประทับใจไปนานแสนนาน

    นอกจากนี้ในท่วงท่าที่ผู้หญิงอยู่ด้านบนนั้นถ้าอวัยวะของทั้งสองแนบสนิทฟิตแน่นแล้วจะทำให้เกิดการกระตุ้นจุด จีสปอต ของเธอได้เป็นอย่างดีทำให้อารมณ์กระสันต์ของเธอถูกเร่งเร้า

    จนสามารถที่จะผลิตน้ำหล่อลื่นออกมามากจนทำให้ช่องทางรับเรียบลื่นไม่ติดขัดในการเคลื่อนไหวที่ให้ความเสียดสีอันแสนประทับใจและไม่เจ็บ

แถมเป็นท่วงท่าที่ผู้หญิงสามารถถึงจุดสุดยอดได้เร็วและดีด้วยจนประทับใจกันทั้งสองฝ่าย



ควรจะร่วมรักกับผู้หญิงอ้วนในแบบไหนจึงจะสะใจทั้งคู่
    ผู้ชายมักจะสะใจถ้าสามารถที่จะสอดใส่ของเขาเข้าไปได้ลึกที่สุด เช่นกันผู้หญิงก็อยากให้ผู้ชายของเธอหลั่งภายในส่วนที่ลึกที่สุดของซอกหลืบเธอเช่นกัน นั่นเป็นความรู้สึกที่สั่งสมมาตามธรรมชาติโดยไม่รู้ตัว และการที่จะสามารถสอดเข้าไปได้ลึกที่สุด



ในผู้หญิงที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์เจ้าเนื้อซึ่งก็มีจำนวนมากขึ้นในยุคนี้และเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของผู้ชายหลายต่อหลายคนที่ฝันอยากลองร่วมรักกับผู้หญิงเจ้าเนื้อดูสักครั้ง แน่นอนว่าส่วนนั้นของเธอมีกันชนที่หนาและช่องทางที่จะเข้าไปก็ถูกหนีบระหว่างต้นขาที่ใหญ่จนปิดแน่น


    ทำอย่างไรจึงจะทำให้ช่องทางรักเปิดกว้างให้เข้าไปสัมผัสได้จึงเป็นโจทย์ปัญหาของคนที่อยากลองแต่ไม่อยากเรียนรู้ด้วยตนเอง คำตอบก็คือให้เธอนอนหงายบริเวณขอบเตียงโดยชันขาขึ้นและแยกขาทั้งสองข้างออกให้มากเพียงพอที่จะเปิดประตูแห่งความหฤหรรษ์ออกมา

    ให้ชายหนุ่มของเธอได้เยี่ยมยลและลองใช้ จะเป็นขอบอย่างอื่นก็ไม่รังเกียจเช่นขอบโต๊ะรับประทานอาหารหรือขอบม้านั่ง ต่อจากนั้นคงไม่ต้องบอกนะว่าทำอย่างไร


แล้วร่วมรักกันท่าไหนจึงอันตรายแบบสุดๆ
    อะไรที่สนุกสุดๆ ก็อันตรายสุดๆ เช่นกัน ว่ากันว่าการร่วมรักในท่วงท่าที่เรียกว่า Woman on Top นั้นเป็นท่วงท่าที่ผู้หญิงสนุกแบบสุดๆ และไม่เจ็บด้วยทำให้เธอสามารถที่จะกระแทกกระทั้นได้อย่างเมามันในอารมณ์แต่เมื่อเป็นดังนั้นถ้าผู้ชายของเธอไม่สามารถที่จะควบคุมการเคลื่อนไหวได้ดี

    การกระแทกผิดมุมก็อาจทำให้ของรักของหวงของฝ่ายชายเกิดชอกช้ำหรืออาจจะหักกลางได้ถ้าผิดมุมแบบสุดๆ ถึงแม้โอกาสจะเกิดน้อยแต่หมอๆ ทั้งหลายก็เคยเห็นมาแล้วว่ามันทุลักทุเลแค่ไหนเวลาเกิดเรื่อง

    เพราะอวัยวะเพศชายที่หักภายในจะยังแข็งและมีเลือดคั่งอยู่แต่ด้านนอกจะเหี่ยวโดยเร็วเพราะความเจ็บปวดทำให้ไม่สามารถที่จะดึงออกได้ง่าย บางครั้งบางคราจึงต้องหามส่งโรงพยาบาลทั้งสองคนเป็นที่สนุกสนานบันเทิงใจของผู้ได้พบเห็น

    และบางครั้งถึงกับต้องสั่งแพทย์ฉุกเฉินไปที่เกิดเหตุเพื่อที่จะแยกร่างออกจากกัน ลองนึกตามนะว่าถ้าเกิดกับตัวเองจะเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้นก็บันยะบันยังและควบคุมสติอารมณ์บ้างในท่วงท่าการร่วมรักที่แสนมันส์นี้จะได้มีใช้กันต่อนานๆ

ท่าร่วมรักแบบไหนที่ทำให้เกิดความชื่นชมยินดีในกันและกันมากที่สุด
    น่าจะเป็นท่าร่วมรักในรูปแบบของ Tantra Sex แบบหนึ่งที่ชายและหญิงนั่งหันหน้าเข้าหากันและเมื่อฝ่ายชายได้สอดอวัยวะของเขาเข้าสู่ซอกมุมอันเร้นลับของผู้หญิงของเขาเรียบร้อยแนบแน่นแล้วก็จะยังไม่เคลื่อนไหวร่างกายส่วนใดๆ แต่จะใช้กระแสจิตมองตากัน



    ถ่ายทอดความรักความผูกพันในกันและกันจนประสานเป็นหนึ่งเดียว และให้พลังงานแห่งความรักของทั้งสองได้ไหลวนในกันและกันผ่านจุดยุทธศาสตร์ของทั้งสองที่ประสานแนบแน่นอยู่ตลอดเวลาจนสามารถที่จะถึงจุดสุดยอดได้

    โดยไม่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายแต่ใช้กระแสพลังงานที่ผ่านจิตใจเคลื่อนไหวแทน นี่เป็นวรยุทธ์ขั้นสูงในการร่วมรัก เหมือนที่ว่า "ไม่เคลื่อนไหวก็คือการเคลื่อนไหว" ตามสำนวนกำลังภายในนั่นแหละ

    และถ้ายังฝึกไม่ได้ในท่านี้การเคลื่อนเข้าออกถึงจะลำบากบ้างแต่ก็พอทำได้โดยสะดวกด้วยความร่วมมือที่ประสานเป็นหนึ่งเดียวของคนสองคน และเมื่อรู้ใจกันนานๆ แล้วสุดยอดของท่วงท่าร่วมรักก็คงสามารถที่จะทำได้ในวันหนึ่ง เป็นวันนั้น...ที่หลายคนรอคอย
http://sex.mwake.com/story/82/สารพันปัญหา-ท่าร่วมรัก-(ตอนจบ).html

ประเภทของนาฏศิลป์ไทย

นาฎศิลป์ คือ การร่ายรำที่มนุษย์ได้ปรุงแต่งจากลีลาตามธรรมชาติให้สวยสดงดงาม โดยมีดนตรีเป็นองค์ประกอบในการร่ายรำ
นาฎศิลป์ของไทย แบ่งออกตามลักษณะของรูปแบบการแสดงเป็นประเภทใหญ่ ๆ 4 ประเภท คือ

1. โขน

ทศกัณฑ์เป็นการแสดงนาฎศิลป์ชั้นสูงของไทยที่มีเอกลักษณ์ คือ ผู้แสดงจะต้องสวมหัวที่เรียกว่า หัวโขน และใช้ลีลาท่าทางการแสดงด้วยการเต้นไปตามบทพากย์ การเจรจาของผู้พากย์และตามทำนองเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ เรื่องที่นิยมนำมาแสดง คือ พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ แต่งการเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ที่เป็นเครื่องต้น เรียกว่าการแต่งกายแบบ “ยื่นเครื่อง” มีจารีตขั้นตอนการแสดงที่เป็นแบบแผน นิยมจัดแสดงเฉพาะพิธีสำคัญได้แก่ งานพระราชพิธีต่าง ๆ

2. ละคร

ละครใน เป็นศิลปะการร่ายรำที่เล่นเป็นเรื่องราว มีพัฒนาการมาจากการเล่านิทาน ละครมีเอกลักษณ์ในการแสดงและการดำเนินเรื่องด้วยกระบวนลีลาท่ารำ เข้าบทร้อง ทำนองเพลงและเพลงหน้าพาทย์ที่บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ มีแบบแผนการเล่นที่เป็นทั้งของชาวบ้านและของหลวงที่เรียกว่า ละครโนราชาตรี ละครนอก ละครใน เรื่องที่นิยมนำมาแสดงคือ พระสุธน สังข์ทอง คาวี อิเหนา อุณรุท นอกจากนี้ยังมีละครที่ปรับปรุงขึ้นใหม่อีกหลายชนิด การแต่งกายของละครจะเลียนแบบเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์ เรียกว่า การแต่งการแบบยืนเครื่อง นิยมเล่นในงานพิธีสำคัญและงานพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์

3. รำ และ ระบำ

เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำประกอบเพลงดนตรีและบทขับร้อง โดยไม่เล่นเป็นเรื่องราว ในที่นี้หมายถึงรำและระบำที่มีลักษณะเป็นการแสดงแบบมาตรฐาน ซึ่งมีความหมายที่จะอธิบายได้พอสังเขป ดังนี้

3.1 รำ รำไทย หมายถึง ศิลปะแห่งการรายรำที่มีผู้แสดง ตั้งแต่ 1-2 คน เช่น การรำเดี่ยว การรำคู่ การรำอาวุธ เป็นต้น มีลักษณะการแต่งการตามรูปแบบของการแสดง ไม่เล่นเป็นเรื่องราวอาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้ากับทำนองเพลงดนตรี มีกระบวนท่ารำ โดยเฉพาะการรำคู่จะต่างกับระบำ เนื่องจากท่ารำจะมีความเชื่อมโยงสอดคล้องต่อเนื่องกัน และเป็นบทเฉพาะสำหรับผู้แสดงนั้น ๆ เช่น รำเพลงช้าเพลงเร็ว รำแม่บท รำเมขลา –รามสูร เป็นต้น

3.2 ระบำ ระ และระบำหมายถึง ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้เล่นตังแต่ 2 คนขึ้นไป มีลักษณะการแต่งการคล้ายคลึงกัน กระบวนท่ารายรำคล้าคลึงกัน ไม่เล่นเป็นเรื่องราว อาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี ซึ่งระบำแบบมาตรฐานมักบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ การแต่งการนิยมแต่งกายยืนเครื่องพระนาง-หรือแต่งแบบนางในราชสำนัก เช่น ระบำสี่บท ระบำกฤดาภินิหาร ระบำฉิ่งเป็นต้น


4. การแสดงพื้นเมือง

เป็นศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีทั้งรำ ระบำ หรือการละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่มชนตามวัฒนธรรมในแต่ละภูมิภาค ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นภูมิภาคได้ 4 ภาค ดังนี้

4.1 การแสดงพี้นเมืองภาคเหนือ รำพื้นบ้านภาคเหนือ เป็นศิลปะการรำ และการละเล่น หรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า “ฟ้อน” การฟ้อนเป็นวัฒนธรรมของชาวล้านนา และกลุ่มชนเผ่าต่าง ๆ เช่น ชาวไต ชาวลื้อ ชาวยอง ชาวเขิน เป็นต้น ลักษณะของการฟ้อน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบดั้งเดิม และแบบที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ แต่ยังคงมีการรักษาเอกลักษณ์ทางการแสดงไว้คือ มีลีลาท่ารำที่แช่มช้า อ่อนช้อยมีการแต่งกายตามวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สวยงามประกอบกับการบรรเลงและขับร้องด้วยวงดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงสะล้อ ซอ ซึง วงปูเจ่ วงกลองแอว เป็นต้น โอกาสที่แสดงมักเล่นกันในงานประเพณีหรือต้นรับแขกบ้านแขกเมือง ได้แก่ ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนครัวทาน ฟ้อนสาวไหมและฟ้อนเจิง

4.2 การแสดงพื้นเมืองภาคกลาง รำกลองยาวเป็นศิลปะการร่ายรำและการละเล่นของชนชาวพื้นบ้านภาคกลาง ซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรม ศิลปะการแสดงจึงมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตและพื่อความบันเทิงสนุกสนาน เป็นการพักผ่อนหย่อนใจจากการทำงาน หรือเมื่อเสร็จจากเทศการฤดูเก็บเก็บเกี่ยว เช่น การเล่นเพลงเกี่ยวข้าว เต้นกำรำเคียว รำโทนหรือรำวง รำเถิดเทอง รำกลองยาว เป็นต้น มีการแต่งกายตามวัฒนธรรมของท้องถิ่น และใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้าน เช่น กลองยาว กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ และโหม่ง



4.3 การแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน รำพื้นบ้านเป็นศิลปะการรำและการเล่นของชาวพื้นบ้านภาคอีสาน หรือ ภาคตะวนออกเฉียงเหนือของไทย แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มวัฒนธรรมใหญ่ ๆ คือ กลุ่มอีสานเหนือ มีวัฒนธรรมไทยลาวซึ่งมักเรียกการละเล่นว่า “เซิ้ง ฟ้อน และหมอลำ” เช่น เซิ้งบังไฟ เซิ้งสวิง ฟ้อนภูไท ลำกลอนเกี้ยว ลำเต้ย ซึ่งใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านประกอบ ได้แก่ แคน พิณ ซอ กลองยาว อีสาน ฉิ่ง ฉาบ ฆ้อง และกรับ ภายหลังเพิ่มเติมโปงลางและโหวดเข้ามาด้วย ส่วนกลุ่มอีสานใต้ได้รับอิทธิพลไทยเขมร มีการละเล่นที่เรียกว่า เรือม หรือ เร็อม เช่น เรือมลูดอันเร หรือรำกระทบสาก รำกระเน็บติงต็อง หรือระบำตั๊กแตน ตำข้าว รำอาไย หรือรำตัด หรือเพลงอีแซวแบบภาคกลางวงดนตรี ที่ใช้บรรเลง คือ วงมโหรีอีสานใต้ มีเครื่องดนตรี คือ ซอด้วง ซอด้วง ซอครัวเอก กลองกันตรึม พิณ ระนาด เอกไม้ ปี่สไล กลองรำมะนาและเครื่องประกอบจังหวะ การแต่งกายประกอบการแสดงเป็นไปตามวัฒนธรรมของพื้นบ้าน ลักษณะท่ารำและท่วงทำนองดนตรีในการแสดงค่อนข้างกระชับ รวดเร็ว และสนุกสนาน

4.4 การแสดงพื้นเมืองภาคใต้ โนราเป็นศิลปะการรำและการละเล่นของชาวพื้นบ้านภาคใต้อาจแบ่งตามกลุ่มวัฒนธรรมได้ 2 กลุ่มคือ วัฒนธรรมไทยพุทธ ได้แก่ การแสดงโนรา หนังตะลุง เพลงบอก เพลงนา และวัฒนธรรมไทยมุสลิม ได้แก่ รองเง็ง ซำแปง มะโย่ง (การแสดงละคร) ลิเกฮูลู (คล้ายลิเกภาคกลาง) และซิละ มีเครื่องดนตรีประกอบที่สำคัญ เช่น กลองโนรา กลองโพน กลองปืด โทน ทับ กรับพวง โหม่ง ปี่กาหลอ ปี่ไหน รำมะนา ไวโอลิน อัคคอร์เดียน ภายหลังได้มีระบำที่ปรับปรุงจากกิจกรรมในวิถีชีวิต ศิลปาต่างๆ เข่น ระบำร่อนแต่ การีดยาง ปาเตต๊ะ เป็นต้น


การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
(Microsoft Windows)
                                เนื้อหาจะเป็นการแนะนำ การใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ต่าง ๆ ที่จำเป็น ตั้งแต่การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การจับเม้าส์ การกดปุ่มบนเม้าส์ ตลอดจนการเปิดโปรแกรมต่าง ๆ ขึ้นมา การปิดโปรแกรมต่าง ๆ เมื่อไม่ใช้งาน การแก้ไขเครื่องในกรณีเครื่องเกิดอาการ Hang การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง

การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์

1.       ตรวจสอบปลั๊กเสียก่อนว่า เสียบเรียบร้อยดีหรือไม่
2.       ที่จอภาพ กดสวิทซ์ เพื่อเปิดจอภาพ
3.       ที่ CPU. ด้านหน้า จะมีสวิทซ์ เพื่อเปิดเครื่อง (กดเบา ๆ )
4.       เมื่อเปิดเครื่องแล้ว รอสักครู่ ที่จอภาพจะมีข้อความเพื่อตรวจสอบระบบต่าง ๆ
5.       จากนั้น จะมีเสียง 1 ครั้ง
6.       ที่หน้าจอภาพจะขึ้นคำว่า Windows เป็นการเริ่มต้นการใช้เครื่อง เพราะเครื่องจะต้องเรียกโปรแกรมควบคุมเครื่องที่ชื่อว่า Windows เสียก่อน (จะใช้เวลาประมาณ 3 นาที)
7.       จากนั้นหน้าจอภาพจะมีโปรแกรมต่าง ๆ อยู่ด้านซ้าย และด้านล่างจะมีแถบ Task Bar ให้เราทำงานได้

การเลิกใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

1.       คลิ๊กที่ปุ่ม Start
2.       เลื่อนมาคลิ๊กที่คำสั่ง Shut Down
3.       คลิ๊กปุ่ม Ok
4.       รอสักครู่เครื่องจะเริ่มทำการปิดระบบต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์
5.       จากนั้นเครื่องจะดับเอง
6.       ยกเว้น จอภาพ ให้กดสวิทซ์ ปิดจอด้วย

ส่วนประกอบของหน้าจอภาพเมื่อเข้าสู่วินโดวส์เรียบร้อยแล้ว

1.       ส่วนที่เป็นภาพฉากหลัง เราเรียกว่า ส่วนพื้นจอภาพ (Desk Top)
2.       ด้านซ้ายของจอภาพ ส่วนที่เป็นรูปภาพ และมีคำบอกว่าเป็นโปรแกรมอะไร เรียกว่า (Icon) ลักษณะจะเป็นโปรแกรมต่าง ๆ ที่วินโดวส์ จะนำมาไว้ที่จอภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นโปรแกรมที่ถูกเรียกใช้บ่อย ๆ
3.       ด้านล่างของจอภาพที่เป็นแถบสีเทา เราเรียกว่า (Task Bar) เป็นส่วนบอกสถานะต่าง ๆ โดยที่ด้านขวาของ ทาสบาร์ จะบอกเวลาปัจจุบัน สถานะของแป้นพิมพ์ว่า ภาษาไทย หรือ อังกฤษ โปรแกรมที่ถูกฝังตัวอยู่ ส่วนแถบตรงกลางจะใช้บอกว่า ขณะนี้เราเปิดโปรแกรมอะไรใช้งานอยู่บ้าง ด้านซ้ายของจอภาพ จะมีปุ่ม Start ใช้ในการเริ่มเข้าสู่โปรแกรมต่าง ๆ
การกดปุ่มบนเม้าส์ (Mouse) เม้าส์ในปัจจุบันจะมี 2 ปุ่ม ซ้าย และขวา ส่วนถ้าเป็นแบบล่าสุด จะมีปุ่มคล้าย ๆ ล้ออยู่ตรงกลางเพื่อใช้ในการเลื่อน ขึ้น และ ลง บนหน้าจอภาพ (Scroll Bar) ในการกดปุ่มบนเม้าส์นั้น จะมีวิธีกดปุ่มบนเม้าส์อยู่ทั้งหมด 4 วิธีคือ
1.       คลิ๊ก (Click) คือการใช้นิ้วชี้กดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ 1 ครั้ง ใช้ในการเลือกสิ่งต่าง ๆ บนจอภาพ
2.       ดับเบิ้ลคลิ๊ก (Double Click) คือการใช้นิ้วชี้กดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ 2 ครั้ง ติดกันอย่างเร็ว ใช้ในการเปิดโปรแกรมที่อยู่ด้านซ้ายของจอภาพ
3.       แดร๊ก (Drag) คือการกดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ ค้างไว้ แล้วลากเม้าส์ ใช้ในการย้ายสิ่งต่าง ๆ
4.       คลิ๊กขวา (Right – Click) คือการใช้นิ้วกลาง กดปุ่ม ขวา ของเม้าส์ 1 ครั้ง ใช้ในการเข้าเมนูลัดของโปรแกรม (Context Menu)
การเปิดโปรแกรมขึ้นมาใช้งาน เช่น ต้องการเปิดโปรแกรมเครื่องคิดเลข (Calculator)
1.       คลิ๊กที่ปุ่ม Start ตรงแถบทาสบาร์ด้านล่างซ้ายมือ
2.       เลื่อนเม้าส์เพื่อให้ลูกศรที่จอภาพ ชี้ที่คำว่า Program ตรงนี้ชี้ไว้เฉย ๆ ครับ ไม่ต้องคลิ๊กเม้าส์
3.       เลื่อนเม้าส์ไปทางขวา ในแนวนอนก่อน แล้วเลื่อนขึ้นไปที่คำว่า Accessories ไม่ต้องคลิ๊กเม้าส์
4.       เลื่อนเม้าส์ไปทางขวา ในแนวนอนอีก แล้วเลื่อนลงมาที่คำว่า Calculator
5.       จากนั้นจับเม้าส์ให้ นิ่ง ๆ คลิ๊กเม้าส์ 1 ที (คือการกดปุ่ม ซ้าย ของเม้าส์ 1 ครั้ง)
6.       กรอบต่าง ๆ จะหายไป แล้วเครื่องจะเปิดหน้าต่าง เครื่องคิดเลขขึ้นมา ถือว่าเสร็จขึ้นตอนการเปิดโปรแกรมเครื่องคิดเลข ขึ้นมาใช้งาน ครับ

การปิดโปรแกรม เครื่องคิดเลข

1.       ที่หน้าต่างเครื่องคิดเลข (Calculator) ตรงด้านบน ขวา มือจะมีปุ่มอยู่ 3 ปุ่ม
2.       ให้เลื่อนเม้าส์ ไปที่ปุ่มที่ 3 ทางขวามือ (ปุ่มจะเป็นรูป กากบาท X ) เมื่อเลื่อนเม้าส์ไปวางจะมีคำว่า Close
3.       คลิ๊ก 1 ครั้ง เครื่องก็จะปิดหน้าต่างโปรแกรมเครื่องคิดเลขไป
การขยายหน้าต่างของโปรแกรมให้เต็มจอภาพ (Maximize)
1.       ที่หน้าต่าง ด้านบน ขวามือ ให้คลิ๊ก ปุ่มที่สอง เครื่องจะมีข้อความขึ้นมาว่า Maximize (แต่ถ้าหน้าต่าง ถูกขยายขึ้นมาอยู่แล้ว คำจะเปลี่ยนเป็น Restore ถ้าคลิ๊กลงไปจะกลายเป็นหน้าต่าง ขนาดปกติครับ)
2.       จากนั้นเครื่องจะขยายหน้าต่างให้เต็มจอ ส่วนใหญ่เราจะขยายหน้าต่างให้เต็มจอเพื่อให้เห็นรายละเอียดในหน้าต่างมากขึ้นครับ
การลดขนาดหน้าต่างเป็น Icon ลงใน ทาสบาร์ หรือ การซ่อนหน้าต่าง (Minimize)
1.       ที่หน้าต่าง ด้านบน ขวามือ ให้คลิ๊กปุ่มที่เป็นขีด ลบ ถ้าเลื่อนเม้าส์ไปวางจะขึ้นคำว่า Minimize
2.       คลิ๊กลงไป 1 ครั้ง เครื่องก็จะซ่อนหน้าต่าง ลงไปไว้ด้านล่างตรงทาสบาร์
3.       ที่ทาสบาร์จะมีคำเป็นลักษณะปุ่มเขียนว่า ซ่อนโปรแกรมอะไรไว้
4.       แต่ ถ้าอยากเรียกขึ้นมาใช้งานตามเดิม ให้คลิ๊กที่ปุ่มด้านล่างที่ทาสบาร์ที่เราซ่อนเอาไว้ เครื่องก็จะเปิดหน้าต่างโปรแกรมที่เราซ่อนเอาไว้ ขึ้นมาใช้งานได้ตามเดิม
การปิดโปรแกรมที่ทำให้เครื่องเกิดอาการแฮงค์ (Hang) อาการแฮงค์ คืออาการที่เราอาจจะเปิดโปรแกรมขึ้นมาหลายโปรแกรม แล้วทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานไม่ทัน หรือเราอาจจะคลิ๊กเม้าส์หลายครั้ง ในขณะที่เครื่องกำลังประมวลผลอยู่ จนเครื่องทำงานไม่ทัน เลยเกิดอาการแฮงค์ ซึ่งอาการแฮงค์นี้จะทำให้เราไม่สามารถคลิ๊กอะไรที่จอภาพได้เลย วิธีการแก้ไขเบื้องต้นคือ
1.       ที่แป้นพิมพ์ ให้เรากดปุ่ม Ctrl + Alt ค้างไว้ แล้วอีกมือหนึ่ง กดปุ่ม Delete แล้วปล่อย
2.       เครื่องจะขึ้นหน้าต่าง Task Manager ขึ้นมา
3.       จากนั้น เราคลิ๊กที่โปรแกรมที่เราคิดว่าทำให้เครื่องแฮงค์
4.       ด้านล่าง คลิ๊กที่ปุ่ม End Task เครื่องจะปิดโปรแกรมนั้นทิ้งไป
5.       ถ้าไม่มีการปิดโปรแกรมอื่นอีก ก็ให้เลือกปุ่ม Cancel ออกมา