วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การบูร

การบูร(Ka-ra-bun) PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันศุกร์ที่ 01 มกราคม 2010 เวลา 16:01 น.


การบูร (Ka-ra-bun), Camphor tree, Formosan camphor
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum camphora T.Fries
Syn. : Camphora officinarum Nees.
Lauras camphora Linn.
วงศ์ LAURACEAE

ชื่ออื่นๆ

ไทย : อบเชยญวน (Op-choei-yuan)
เงี้ยว : พรมเส็ง (Phrom-seng)
มาเลเซีย : คาปูร์ ตอฮอร์ (Kapur tohor)

ถิ่นกำเนิด

ญี่ปุ่น มาเลเซีย จีน อินโดนีเซีย อินเดีย

รูปลักษณะ

ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ใบสีเขียวแก่เป็นมัน เป็นไม้ที่ชอบขึ้นในประเทศที่มีอากาศหนาว ดอกเล็กสีเหลืองมีผลสีชมพู มีรสหอมร้อน

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา

รับประทานแก้ปวดท้องจุกเสียด ธาตุพิการ ขับลมในลำไส้ แก้ไอ ขับเสมหะ ขับน้ำเหลือง ใช้เป็นยาทาเพื่อถอนพิษอักเสบชนิดเรื้อรัง
การบูรเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านสาขามาก สีเขียวตลอดปี เป็นไม้พื้นเมืองของจีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน การบูรจากธรรมชาติเป็นผลึกเล็กๆ เกิดอยู่ทั่วไปทั้งต้น มักจะอยู่ตามรอยแตกของเนื้อไม้ มีมากที่สุดในแก่นของราก ส่วนที่อยู่ใกล้โคนต้นจะมีมากกว่าส่วนที่อยู่ในระดับสูงขึ้นมา ส่วนมากการบูรจะละลายอยู่ในน้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในลำต้นของการบูร การผลิตในไต้หวันใช้กลั่นจากส่วนของลำต้น โดยใช้ลำต้นและรากจากพืชที่มีอายุเกิน 40 ปี นำมาเลื่อยและสับเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปกลั่นโดยใช้ไอน้ำ น้ำมันที่กลั่นได้จะอยู่ในภาชนะที่รองรับ ในภาชนะนั้นจะเห็นการบูรตกผลึกออกมาจากน้ำมันการบูร แยกผลึกออกมาอัดเป็นก้อน

ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 การปลูกและการผลิต การบูรจากธรรมชาติส่วนใหญ่มาจากไต้หวัน ซึ่งญี่ปุ่นยึดครองอยู่ การผลิตจึงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลญี่ปุ่น โดยมีข้อกำหนดว่าถ้าโคนต้นการบูรลง 1 ต้น จะต้องปลูกชดเชย 1 ต้น เพื่อไม่ให้สูญพันธุ์ เนื่องจากการบูรโตช้า และต้องรอนานกว่าจะนำมากลั่นได้ ในอเมริกาจึงใช้กลั่นจากใบและยอดอ่อน ผลที่ได้จะน้อยกว่า แต่มีข้อดีที่ผลิตได้เร็วกว่า และตลอดเวลาการเก็บใบจะเก็บได้เมื่อต้นมีอายุ 5 ปี ก็สามารถตัดใบและกิ่งมากลั่นได้แล้ว และหลังจากตัดใบแล้วประมาณ 2 เดือน ใบใหม่จะงอกขึ้นมาแทน เมื่อรวมแล้วอาจได้ผลผลิตมากกว่า และไม่เป็นการทำลายต้นไม้ด้วย ต่อมาได้มีการสังเคราะห์การบูรขึ้นมาใช้แทน ลักษณะและการนำมาใช้จะเหมือนกันคือลักษณะของการบูรเป็นผลึกเม็ดเล็กๆ มีกลิ่นหอมเฉพาะ และซ่า รสเผ็ดร้อน หอม และตามมาด้วยความรู้สึกเย็นซ่า ละลายน้ำได้น้อย เมื่อนำมาบดกับเมนทอล คลอรอลไฮเดรท ซาลอล แนพธอล หรือฟีนอล ในปริมาณเท่าๆ กันจะเกิดเป็นของเหลว การบูรสามารถบดเป็นผงละเอียดได้ถ้าใส่แอลกอฮอล์เล็กน้อย การบูรระเหิดได้ที่อุณหภูมิห้องทำให้เห็นจับกันเป็นผลึกอยู่ที่ผนังด้านในของภาชนะที่ใช้เก็บ การนำมาใช้ประโยชน์ ถ้าใช้ภายนอก จะมีฤทธิ์เฉพาะที่ต่อผิวหนัง และเนื้อเยื่อโดยทำเป็นยาเตรียมในรูปแบบของเหลว หรือกึ่งแข็ง ใช้ทาถูนวด แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แก้ปวดตามข้อ ทาเพื่อให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นมากๆ และอาจใช้ร่วมกับเมนทอล หรือฟีนอล ทาแก้อาการคันที่ผิวหนัง ใช้ภายในเป็นยาฆ่าเชื้อ และยาขับลม หรือใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ในกรณีที่คนไข้หยุดหายใจกระทันหัน หรือระบบไหลเวียนของโลหิตล้มเหลว โดยทำเป็นยาฉีดที่ละลายในน้ำมัน เช่น น้ำมันมะกอก เนื่องจากการบูรจะไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้มีผลต่อการหายใจและความดันโลหิต ในการใช้การบูรเป็นยาภายใน ถ้าใช้ในขนาดมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน มึนงง ชัก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ถ้าใช้ภายในจะใช้ขนาด 200 มิลลิกรัม ส่วนภายนอกจะใช้ 1-3% สารที่ใกล้เคียงกับการบูรคือ พิมเสน ซึ่งจะเกิดเป็นผลึกอยู่ในรอยแตกของเนื้อไม้ของต้นพิมเสน ขูดเอาผลึกออกมาได้โดยไม่ต้องกลั่น ผลึกคล้ายการบูร แต่ไม่ระเหิดที่อุณหภูมิห้อง ราคาจะแพงกว่าการบูร ใช้เป็นยาดมแก้วิงเวียน รับประทานแก้จุกเสียดแน่นท้อง อีกชนิดหนึ่งคือ สารที่ได้จากการกลั่นต้นหนาดหลวง มีลักษณะคล้ายการบูร ใช้กันมาในจีนและญี่ปุ่น

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ซึ่งมีส่วนประกอบของการบูรอยู่คือ พิมเสนน้ำ ซึ่งมีส่วนผสมเป็นเมนทอล พิมเสน การบูร การนำการบูรมาใช้มีข้อควรระวังคือ สมัยโบราณนำมาใช้ใส่ในตู้เสื้อผ้าเพื่อไล่แมลง กำจัดกลิ่นอับชื้น ปัจจุบันมีการบูรบรรจุในถุงที่สวยงาม เพื่อนำมาใช้กำจัดกลิ่นตามสถานที่ต่างๆ เช่น ในบ้านเรือน รถยนต์ ซึ่งถ้าอยู่ในที่จำกัด การบูรจะระเหิดออกมา เมื่อสูดดมเข้าไปมากๆ จะระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ การบูรเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านสาขามาก สีเขียวตลอดปี เป็นไม้พื้นเมืองของจีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน การบูรจากธรรมชาติเป็นผลึกเล็กๆ เกิดอยู่ทั่วไปทั้งต้น มักจะอยู่ตามรอยแตกของเนื้อไม้ มีมากที่สุดในแก่นของราก ส่วนที่อยู่ใกล้โคนต้นจะมีมากกว่าส่วนที่อยู่ในระดับสูงขึ้นมา ส่วนมากการบูรจะละลายอยู่ในน้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในลำต้นของการบูร การผลิตในไต้หวันใช้กลั่นจากส่วนของลำต้น โดยใช้ลำต้นและรากจากพืชที่มีอายุเกิน 40 ปี นำมาเลื่อยและสับเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปกลั่นโดยใช้ไอน้ำ น้ำมันที่กลั่นได้จะอยู่ในภาชนะที่รองรับ ในภาชนะนั้นจะเห็นการบูรตกผลึกออกมาจากน้ำมันการบูร แยกผลึกออกมาอัดเป็นก้อน

ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 การปลูกและการผลิต การบูรจากธรรมชาติส่วนใหญ่มาจากไต้หวัน ซึ่งญี่ปุ่นยึดครองอยู่ การผลิตจึงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลญี่ปุ่น โดยมีข้อกำหนดว่าถ้าโคนต้นการบูรลง 1 ต้น จะต้องปลูกชดเชย 1 ต้น เพื่อไม่ให้สูญพันธุ์ เนื่องจากการบูรโตช้า และต้องรอนานกว่าจะนำมากลั่นได้ ในอเมริกาจึงใช้กลั่นจากใบและยอดอ่อน ผลที่ได้จะน้อยกว่า แต่มีข้อดีที่ผลิตได้เร็วกว่า และตลอดเวลาการเก็บใบจะเก็บได้เมื่อต้นมีอายุ 5 ปี ก็สามารถตัดใบและกิ่งมากลั่นได้แล้ว และหลังจากตัดใบแล้วประมาณ 2 เดือน ใบใหม่จะงอกขึ้นมาแทน เมื่อรวมแล้วอาจได้ผลผลิตมากกว่า และไม่เป็นการทำลายต้นไม้ด้วย ต่อมาได้มีการสังเคราะห์การบูรขึ้นมาใช้แทน ลักษณะและการนำมาใช้จะเหมือนกันคือลักษณะของการบูรเป็นผลึกเม็ดเล็กๆ มีกลิ่นหอมเฉพาะ และซ่า รสเผ็ดร้อน หอม และตามมาด้วยความรู้สึกเย็นซ่า ละลายน้ำได้น้อย เมื่อนำมาบดกับเมนทอล คลอรอลไฮเดรท ซาลอล แนพธอล หรือฟีนอล ในปริมาณเท่าๆ กันจะเกิดเป็นของเหลว การบูรสามารถบดเป็นผงละเอียดได้ถ้าใส่แอลกอฮอล์เล็กน้อย การบูรระเหิดได้ที่อุณหภูมิห้องทำให้เห็นจับกันเป็นผลึกอยู่ที่ผนังด้านในของภาชนะที่ใช้เก็บ การนำมาใช้ประโยชน์ ถ้าใช้ภายนอก จะมีฤทธิ์เฉพาะที่ต่อผิวหนัง และเนื้อเยื่อโดยทำเป็นยาเตรียมในรูปแบบของเหลว หรือกึ่งแข็ง ใช้ทาถูนวด แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แก้ปวดตามข้อ ทาเพื่อให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นมากๆ และอาจใช้ร่วมกับเมนทอล หรือฟีนอล ทาแก้อาการคันที่ผิวหนัง ใช้ภายในเป็นยาฆ่าเชื้อ และยาขับลม หรือใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ในกรณีที่คนไข้หยุดหายใจกระทันหัน หรือระบบไหลเวียนของโลหิตล้มเหลว โดยทำเป็นยาฉีดที่ละลายในน้ำมัน เช่น น้ำมันมะกอก เนื่องจากการบูรจะไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้มีผลต่อการหายใจและความดันโลหิต ในการใช้การบูรเป็นยาภายใน ถ้าใช้ในขนาดมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน มึนงง ชัก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ถ้าใช้ภายในจะใช้ขนาด 200 มิลลิกรัม ส่วนภายนอกจะใช้ 1-3% สารที่ใกล้เคียงกับการบูรคือ พิมเสน ซึ่งจะเกิดเป็นผลึกอยู่ในรอยแตกของเนื้อไม้ของต้นพิมเสน ขูดเอาผลึกออกมาได้โดยไม่ต้องกลั่น ผลึกคล้ายการบูร แต่ไม่ระเหิดที่อุณหภูมิห้อง ราคาจะแพงกว่าการบูร ใช้เป็นยาดมแก้วิงเวียน รับประทานแก้จุกเสียดแน่นท้อง อีกชนิดหนึ่งคือ สารที่ได้จากการกลั่นต้นหนาดหลวง มีลักษณะคล้ายการบูร ใช้กันมาในจีนและญี่ปุ่น

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ซึ่งมีส่วนประกอบของการบูรอยู่คือ พิมเสนน้ำ ซึ่งมีส่วนผสมเป็นเมนทอล พิมเสน การบูร การนำการบูรมาใช้มีข้อควรระวังคือ สมัยโบราณนำมาใช้ใส่ในตู้เสื้อผ้าเพื่อไล่แมลง กำจัดกลิ่นอับชื้น ปัจจุบันมีการบูรบรรจุในถุงที่สวยงาม เพื่อนำมาใช้กำจัดกลิ่นตามสถานที่ต่างๆ เช่น ในบ้านเรือน รถยนต์ ซึ่งถ้าอยู่ในที่จำกัด การบูรจะระเหิดออกมา เมื่อสูดดมเข้าไปมากๆ จะระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ

แสงและการมองเห็น

แสงและการมองเห็น
ลำแสง
แสงเป็นพลังงานรูปหนึ่ง เดินทางในรูปคลื่นด้วยอัตราเร็วสูง 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที แหล่งกำเนิดแสงมีทั้งแหล่งกำเนิดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น แสงดวงอาทิตย์ที่เป็นแหล่งพลังงานของสิ่งมีชีวิต แหล่งกำเนินแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น แสงสว่างจากหลอดไฟ เป็นต้น
เมื่อแสงเคลื่อนที่ผ่านกลุ่มควันหรือฝุ่นละออง จะเห็นเป็นลำแสงเส้นตรง และสามารถทะลุผ่านวัตถุได้ วัตถุที่ยอมให้แสงเคลื่อนที่ผ่านเป็นเส้นตรงไปได้นั้น เราเรียกวัตถุนี้ว่า วัตถุโปร่งใส เช่น แก้ว อากาศ น้ำ เป็นต้น ถ้าแสงเคลื่อนที่ผ่านวัตถุบางชนิดแล้วเกิดการกระจายของแสงออกไป โดยรอบ ทำให้แสงเคลื่อนที่ไม่เป็นเส้นตรง เราเรียกวัตถุนั้นว่า วัตถุโปร่งแสง เช่น กระจกฝ้า กระดาษไข พลาสติกฝ้า เป็นต้น ส่วนวัตถุที่ไม่ยอมให้แสงเคลื่อนที่ผ่านไปได้ เราเรียกว่า วัตถุทึบแสง เช่น ผนังคอนกรีต กระดาษแข็งหนาๆ เป็นต้น วัตถุทึบแสงจะสะท้อนแสงบางส่วนและดูดกลืนแสงบางส่วนไว้ทำให้เกิดเงาขึ้น

การสะท้อนของแสง (Reflection)

เป็นปรากฏการณ์ที่แสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นค่าหนึ่งมายังตัวกลางที่มีค่าความหนาแน่นอีกตัวหนึ่ง ทำให้แสงตกกระทบกับตัวกลางใหม่ แล้วสะท้อนกลับสู่ตัวเดิม เช่น การสะท้อนของแสงจากอากาศกับผิวหน้าของกระจกเงาจะเกิดการสะท้อนแสงที่ผิวหน้าของกระจกเงาราบแล้วกลับสู่อากาศดังเดิม เมื่อแสงตกกระทบกับผิวหน้าของตัวกลางใดๆ ปริมาณและทิศทางของการสะท้อนของแสง จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของพื้นผิวหน้าของตัวกลางที่ตกกระทบ จากรูป เมื่อลำแสงขนานตกกระทบพื้นผิวหน้าวัตถุที่เรียบ แสงจะสะท้อนเป็นลำแสงขนานเหมือนกับลำแสงที่ตกกระทบ การสะท้อนบนพื้นผิวหน้าที่เรียบ โดยเรียกว่า การสะท้อนแบบสม่ำเสมอ

การสะท้อนของแสงเมื่อตกกระทบพื้นผิววัตถุที่เรียบ

เกิดขึ้นเมื่อลำแสงตกกระทบไปยังพื้นกระจกหรือพื้นผิวที่ขรุขระจะส่งผลให้แสงสะท้อนกลับไปคนละทิศละทาง

 
  •   รังสีตก กระทบ (Incident Ray) คือ รังสีของแสงที่พุ่งเข้าหาพื้นผิวของวัตถุ
  •   รังสีสะท้อน (Reflected Ray) คือ รังสีของแสงที่พุ่งออกจากพื้นผิวของวัตถุ
  •   เส้นปกติ (Normal) คือ เส้นที่ลากตั้งฉากกับพื้นผิวของวัตถุตรงจุดที่แสงกระทบ
  •   มุมตกกระทบ (Angle of Incidence) คือ มุมที่รังสีตกกระทบทำกับเส้นปกติ
  •   มุมสะท้อน (Angle of Reflection) คือ มุมที่รังสีสะท้อนทำกับเส้นปกติ

กฎการสะท้อนของแสง (The Laws of Reflection) มี 2 ข้อ ดังนี้
  • รังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน และเส้นปกติจะอยู่ในระนาบเดียวกัน
  • มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน ดังภาพ

สเปกตรัมของแสง

แสงจากดวงอาทิตย์เป็นแสงขาว ซึ่งเราสามารถใช้ปริซึมแยกแสงที่เป็นองค์ประกอบของแสงขาวออกจากกันได้เป็นแถบสีต่างๆ 7 สีเรียงติดกัน เราเรียกแถบสีที่เรียงติดกันนี้ว่า สเปกตรัม
 กล่องข้อความ: แสงขาว (Visible light) คือ ช่วงคลื่นแสงที่ทำให้ตาเราสามารถมองเห็นวัตถุเป็นสีต่างๆ ได้
ภาพแสดงสเปกตรัมของคลื่นแสงขาว

ปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำ ก็เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่หยดน้ำฝนหรือละอองน้ำทำหน้าที่เป็นปริซึม แสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องลงมาจะเกิดการหักเหทำให้เกิดเป็นแถบสีบนท้องฟ้า
ภาพแสดงการเกิดสเปกตรัมสีรุ้งของแสงเมือลำแสงผ่านปริซึม
จากภาพแสงสีแดงจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าแสงสีม่วง ทำให้แสงสีแดงเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่น้อยกว่าแสงสีม่วง เป็นสาเหตุทำให้เกิดการกระจายของแสงขาวเรียงกันเป็นแถบสีเกิดขึ้น

สีของแสง
การมองเห็นสีต่าง ๆ บนวัตถุเกิดจากการผสมของแสงสี เช่น แสงขาวอาจเกิดจากแสงเพียง 3 สีรวมกัน แสงทั้ง 3 สี ได้แก่ แสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีน้ำเงิน หรือเรียกว่า สีปฐมภูมิ และถ้านำแสงที่เกิดจากการผสมกันของสีปฐมภูมิ 2 สีมารวมกันจะเกิดเป็น สีทุติยภูมิ ซึ่งสีทุตยภูมิแต่ละสีจะมีความแตกต่างกันในระดับความเข้มสีและความสว่างของแสง ดังภาพ
เรามองเห็นวัตถุที่เปล่งแสงด้วยตัวเองไม่ได้ก็เพราะมีแสงสะท้อนจากวัตถุนั้นเข้าสู่นัยย์ตาของเรา และสีของวัตถุก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของแสงที่สะท้อนนั้นด้วย โดยวัตถุสีน้ำเงินจะสะท้อนแสงสีน้ำเงินออกไปมากที่สุด สะท้อนแสงสีข้างเคียงออกไปบ้างเล็กน้อย และดูดกลืนแสงสีอื่น ๆ ไว้หมด ส่วนวัตถุสีแดงจะสะท้อนแสงสีอดงออกไปมากที่สุด มีแสงข้าวเคียงสะท้อนออกไปเล็กน้อย และดุดกลืนแสงสีอื่น ๆ ไว้หมด สำหรับวัตถุสีดำจะดูดกลืนทุกแสงสีและสะท้อนกลับได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังภาพ
 
การหักเหของแสง (Refraction of Light)
เมื่อแสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางโปร่งใส เช่น อากาศ แก้ว น้ำ พลาสติกใส แสงจะสามารถเดินทางผ่านได้เกือบหมด เมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางชนิดเดียวกัน แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงเสมอ แต่ถ้าแสงเดินทางผ่านตัวกลางหลายตัวกลาง แสงจะหักเห
สาเหตุที่ทำให้แสงเกิดการหักเห
เกิดจากการเดินทางของแสงจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งซึ่งมีความหนาแน่นแตกต่างกัน จะมีความเร็วไม่เท่ากันด้วย โดยแสงจะเคลื่อนที่ในตัวกลางโปร่งกว่าได้เร็วกว่าตัวกลางที่ทึบกว่า เช่น ความเร็วของแสงในอากาศมากกว่าความเร็วของแสงในน้ำ และความเร็วของแสงในน้ำมากกว่าความเร็วของแสงในแก้วหรือพลาสติก
การที่แสงเคลื่อนที่ผ่านอากาศและแก้วไม่เป็นแนวเส้นตรงเดียวกันเพราะเกิดการหักเหของแสง โดยแสงจะเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า ( โปร่งกว่า) ไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่า ( ทึบกว่า) แสงจะหักเหเข้าหาเส้นปกติ ในทางตรงข้าม ถ้าแสงเดินทางจากยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่า ไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า แสงจะหักเหออกจากเส้นปกติ
ดรรชนีหักเหของตัวกลาง (Index of Refraction)
การเคลื่อนที่ของแสงในตัวกลางต่างชนิดกันจะมีอัตราเร็วต่างกัน เช่น ถ้าแสงเคลื่อนที่ในอากาศจะมีอัตราเร็วเท่ากับ 300,000,000 เมตรต่อวินาที แต่ถ้าแสงเคลื่อนที่ในแก้วหรือพลาสติกจะมีอัตราเร็วประมาณ 200,000,000 เมตรต่อวินาที การเปลี่ยนความเร็วของแสงเมื่อผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน ทำให้เกิดการหักเห อัตราเร็วของแสงในสุญญากาศต่ออัตราเร็วของแสงในตัวกลางใดๆ เรียกว่า ดรรชนีหักเหของตัวกลาง นั้น
ดรรชนีหักเหของตัวกลาง = อัตราเร็วของแสงในสุญญากาศ/ อัตราเร็วของแสงในตัวกลางใด ๆ
( อัตราเร็วของแสงในสุญญากาศ = 3 x 10 8 เมตร / วินาที)

กล่องข้อความ:    ภาพการเกิดการหักเหของแสง   

พับมุม: กฎการหักเหของแสง (The Law of Refraction)  1. แสงเคลื่อนที่จากตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่าไปสู่ตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าแสงจะหักเหเข้าหาเส้นปกติ    2.   แสงเคลื่อนที่จากตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าไปสู่ตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่าแสงจะหักเหออกจากเส้นปกติ     
      การหักเหของแสงทำให้เรามองเห็นภาพของวัตถุอันหนึ่งที่จมอยู่ในก้นสระว่ายน้ำอยู่ตื้นกว่าความเป็นจริง ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า แสงจากก้นสระว่ายน้ำจะหักเหเมื่อเดินทางจากน้ำสู่อากาศ ทั้งนี้เพราะความเร็วของแสงที่เดินทางในอากาศเร็วกว่าเดินทางในน้ำ จึงทำให้เห็นภาพของวัตถุอยู่ตื้นกว่าความเป็นจริง
ผลที่เกิดขึ้นจากการหักเหของแสง
เมื่อมองที่อยู่ในน้ำโดยนัยน์ตาของเราอยู่ในอากาศ จะทำให้มองเห็นวัตถุตื้นกว่าเดิม นอกจากนี้นักเรียนอาจจะเคยสังเกตุว่าสระว่ายน้ำหรือถังใส่น้ำจะมองดูตื้นกว่าความเป็นจริง เพราะแสงต้องเดินทางผ่านน้ำและอากาศแล้วจึงหักเหเข้าสู่นัยน์ตา
* มิราจ ( Mirage ) เป็นปรากฏการณ์เกิดภาพลวงตา ซึ่ง บางครั้งในวันที่อากาศ เราอาจจะมองเห็นสิ่งที่เหมือนกับสระน้ำบนถนน ดังภาพ

 

ที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่ามีแถบอากาศร้อนใกล้ถนนที่ร้อน และแถบอากาศที่เย็นกว่า (มีความหนาแน่นมากกว่า) อยู่ข้างบน รังสีของแสงจึงค่อยๆ หักเหมากขึ้น เข้าสู่แนวระดับ จนในที่สุดมันจะมาถึงแถบอากาศร้อนใกล้พื้นถนนที่มุมกว้างกว่ามุมวิกฤต จึงเกิดการสะท้อนกลับหมดนั่นเอง ดังภาพ

* รุ้งกินน้ำ ( Rainbow) เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มักเกิดตอนหลังฝนตกใหม่ ยิ่งเฉพาะมีแดดออกด้วย ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดจากแสงแดดจากดวงอาทิตย์ที่ส่องลงมากระทบกับหยดน้ำฝนหรือละอองน้ำ แล้วจะเกิดการหักเหและการสะท้อนกลับหมดของแสงทำให้เกิดเป็นแถบสีบนท้องฟ้า โดยการหักเหของแสงในหยดน้ำนั้นจะแยกสเปกตรัมของแสงขาวจากแสงแดดออกเป็นแถบสีต่างๆ ดังภาพ

 

การเกิดภาพบนกระจกเงาระนาบ
1. ภาพที่เกิดจากกระจกเงาระนาบบานเดียว
เมื่อนักเรียนมองเข้าไปในกระจกเงาระนาบจะเห็นภาพตัวเองเกิดขึ้นที่หลังกระจก ภาพที่เห็นนี้เกิดจากการสะท้อนของแสงที่กระจก ระยะที่ลากจากวัตถุไปตั้งฉากกับผิวกระจกเรียกว่า ระยะวัตถุ และระยะที่ลากจากภาพไปตั้งฉากกับผิวกระจกเรียกว่า ระยะภาพ
เมื่อวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงาระนาบ เราจะมองเห็นวัตถุเพราะมีแสงจากวัตถุมาเข้าตาเรา ส่วนการมองเห็นภาพของวัตถุนั้น เพราะแสงจากวัตถุไปตกกระทบพื้นผิวกระจกเงาระนาบแล้วสะท้อนมาเข้าตาเราอีกทีหนึ่ง ภาพที่เกิดขึ้นเรียกว่า ภาพเสมือน จะปรากฏให้เห็นข้างหลังกระจก และภาพเสมือนไม่สามารถเกิดบนฉากได้ ถ้าเรามองที่ด้านหลังของกระจกเงาระนาบเราจะไม่เห็นภาพ เนื่องจากภาพเสมือนนี้เพียงปรากฏให้เห็นหลังกระจก ( เพราะรังสีของแสงสะท้อนเข้าตา เหมือนกับรังสีนี้มาจากข้างหลังกระจก)
2. ภาพที่เกิดจากกระจกเงาระนาบ 2 บาน วางทำมุมกัน
ถ้านำวัตถุไปวางระหว่างกระจกเงาระนาบสองบานวางทำมุมต่อกัน ภาพที่เกิดจากกระจกเงาระนาบบานหนึ่งถ้าอยู่หน้าแนวกระจกเงาระนาบอีกบานหนึ่ง ภาพนั้นจะทำหน้าที่เป็นวัตถุ ทำให้เกิดการสะท้อนแสงครั้งที่ 2 เกิดภาพที่สองขึ้น โดยระยะภาพก็ยังคงเท่ากับระยะวัตถุ และถ้าภาพทั้งสองยังอยู่หน้าแนวกระจกเงาระนาบบานแรกอีก ภาพนั้นจะทำหน้าที่เป็นวัตถุในการสะท้อนต่อไปอีกกลับไปกลับมาระหว่างกระจกสองบานจนกว่าภาพที่อยู่หลังแนวกระจก จึงจะไม่มีการสะท้อนทำให้เกิดภาพอีก
สูตรคำนวณ n = (360/ q) – 1
เมื่อ n คือ จำนวนภาพที่เกิดขึ้น
q คือ มุมที่กระจกเงาระนาบทำมุมต่อกัน ( เหลือเศษ ให้ปัดเศษทบเป็นหนึ่งเสมอ)

การเกิดภาพบนกระจกโค้ง
ชนิดของกระจกโค้ง กระจกโค้งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
1. กระจกโค้งออกหรือกระจกนูน (Convex mirror) คือกระจกโค้งที่มีผิวสะท้อนแสงออยู่ด้านนอกของส่วนโค้ง ส่วนผิวด้านเว้าถูกฉาบด้วยปรอท

2. กระจกโค้งเข้าหรือกระจกเว้า (Concave mirror) คือ กระจกโค้งที่มีผิวสะท้อนแสงอยู่ด้านในของส่วนโค้ง ส่วนผิวด้านเว้าถูกฉาบด้วยปรอท
จากภาพ จุด C คือ จุดศูนย์กลางของวงกลม ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางความโค้งของกระจกด้วย
              R คือ รัศมีของทรงกลม เรียกว่า รัศมีความโค้งของกระจก
              P คือ จุดที่อยู่บริเวณกึ่งกลางของผิวกระจก เรียกว่า ขั้วกระจก

การสะท้อนของแสงจากกระจกเงาโค้ง
1. กระจกนูน คือ กระจกที่รังสีตกกระทบและรังสีสะท้อนอยู่คนละด้านกับจุดศูนย์กลางความโค้ง
2. กระจกเว้า คือ กระจกที่รังสีตกกระทบและรังสีสะท้อนอยู่ด้านเดียวกับจุดศูนย์กลางความโค้ง
3. กระจกนูนเป็นกระจกกระจายแสง ถ้าให้รังสีตกกระทบขนานกับแกนมุขสำคัญ รังสีแสงจะถ่างออกหรือกระจายออก โดยรังสีแสงขนานสะท้อนในทิศที่เสมือนกับมาจากจุดโฟกัสของกระจกนูน
4. กระจกเว้าเป็นกระจกรวมแสง ถ้าให้รังสีตกกระทบขนานกับแกนมุขสำคัญ รังสีที่สะท้อนออกจากกระจกจะลู่ไปรวมกันที่จุดจุดหนึ่งเรียกว่า จุดโฟกัส
ภาพที่เกิดจากกระจกโค้ง
เกิดจากการสะท้อนของแสงและภาพที่เกิดบนฉาก เรียกว่า ภาพจริง ภาพจริงจะมีลักษณะหัวกลับกับวัตถุ ส่วนภาพที่ปรากฏในกระจก โค้งที่เป็นภาพหัวตั้ง และเอาฉากรับไม่ได้เรียกว่า ภาพเสมือน กระจกเว้าสามารถให้ทั้งภาพจริงและภาพเสมือน ส่วนกระจกนูนนั้นให้ภาพเสมือนเพียงอย่างเดียว
เมื่อวัตถุอยู่ไกลๆ เราถือว่าแสงจากวัตถุเป็นรังสีขนาน และเมื่อรังสีตกกระทบกระจกเว้าจะสะท้อนไปรวมกันที่จุดโฟกัสซึ่งเป็นตำแหน่งภาพ ดังนั้นระยะจากกระจกเว้าถึงตำแหน่งภาพก็คือความยาวโฟกัสของกระจกเว้านั้นเอง
การเขียนทางเดินของแสงบนกระจกโค้ง มีขั้นตอนดังนี้
  • จากจุดปลายของวัตถุ ลากเส้นตรงขนานกับแกนมุขสำคัญไปตกกระทบผิวกระจกแล้วสะท้อนผ่านจุดโฟกัสของกระจกเว้า แต่ถ้าเป็นกระจกนูน แนวรังสีสะท้อนจะเสมือนผ่านจุดโฟกัส
  • จากปลายของวัตถุจุดเดียวกับข้อ 1 ลากเส้นตรงผ่านจุดศูนย์กลางความโค้งของกระจกแล้วสะท้อนกลับทางเดิม
  • ตำแหน่งที่รังสีสะท้อนไปตัดกันจะเป็นตำแหน่งของภาพจริง ส่วนตำแหน่งที่รัวสีสะท้อนที่เสมือนไปตัดกันจะเป็นตำแหน่งของภาพเสมือน
ตัวอย่าง การเขียนทางเดินของแสงบนกระจกเว้า

การคำนวณ
กล่องข้อความ: สูตร   1/f = 1/s + 1/s’  m = s’/s = I/O
s คือ ระยะวัตถุ จะมีเครื่องหมายเป็น + เสมอ
s’ คือ ระยะภาพ ถ้าภาพจริงใช้เครื่องหมาย + และภาพเสมือนใช้เครื่องหมาย –
f คือ ความยาวโฟกัสของกระจกโค้ง เครื่องหมาย + สำหรับกระจกเว้า และเครื่องหมาย – สำหรับกระจกนูน
m คือ กำลังขยายของกระจกโค้ง เครื่องหมาย + สำหรับภาพจริง และภาพเสมือนใช้เครื่องหมาย –
I คือ ความสูงของภาพ เครื่องหมาย + สำหรับภาพจริง และภาพเสมือนใช้เครื่องหมาย –
O คือ ความสูงของวัตถุ จะมีเครื่องหมาย + เสมอ

ประโยชน์ของกระจกโค้ง
1.กระจกนูน นำมาใช้ประโยชน์โดยติดรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เพื่อดูรถด้านหลัง ภาพที่เห็นจะอยู่ในกระจกระยะใกล้กว่า เนื่องจากกระจกนูนให้ภาพเสมือนหัวตั้งเล็กกว่าวัตถุเสมอ และช่วยให้เห็นมุมมองของภาพกว้างขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้กระจกนูนยังใช้ติดตั้งบริเวณทางเลี้ยว เพื่อช่วยให้มองเห็นรถยนต์ที่วิ่งสวนทางมา
2.กระจกเว้า นำมาใช้ประกอบกับกล้องจุลทรรศน์ เพื่อช่วยรวมแสงไปตกที่แผ่นสไลด์ ทำให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น ทำกล้องโทรทัศน์ชนิดสะท้อนแสง กล้องโทรทัศน์วิทยุ ทำเตาสุริยะ ทำจานดาวเทียม เพื่อรับสัญญาณโทรทัศน์ ทำจานรับเรดาร์ นอกจากนี้สมบัติอย่างหนึ่งของกระจกเว้าคือ เมื่อนำมาส่องดูวัตถุใกล้ๆ โดยให้ระยะวัตถุน้อยกว่าระยะโฟกัสแล้ว จะได้ภาพเสมือน หัวตั้ง ขนาดใหญ่กว่าวัตถุ อยู่ข้างหลังกระจก จึงได้นำสมบัติข้อนี้ของกระจกเว้ามาใช้ทำกระจกสำหรับโกนหนวดหรือกระจกแต่งหน้า และใช้ทำกระจกสำหรับทันตแพทย์ใช้ตรวจฟันคนไข้

การเกิดภาพจากเลนส์
เลนส์ (Lens) คือ วัตถุโปร่งใสที่มีผิวหน้าโง ส่วนใหญ่ทำมาจากแก้วหรือพลาสติก
ชนิดของเลนส์ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. เลนส์นูน (Convex Lens) คือ เลนส์ที่มีลักษณะตรงกลางหนากว่าส่วนขอบ ดังภาพ

เลนส์นูน 2 หน้า                      เลนส์นูนแกมระนาบ                  เลนส์นูนแกมเว้า
เลนส์นูนทำหน้าที่รวมแสง หรือลู่แสงให้เข้ามารวมกันที่จุดจุดหนึ่งเรียกว่า จุดรวมแสง หรือ จุดโฟกัส ดังภาพ
2. เลนส์เว้า (Concave Lens) คือ เลนส์ที่มีลักษณะตรงกลางบางกว่าตรงขอบ ดังรูป
.......................................  
เลนส์เว้า 2 หน้า.....................เลนส์เว้าแกมระนาบ................เลนส์เว้าแกมนูน
เลนส์เว้าทำหน้าที่กระจายแสง หรือ ถ่างแสงออก เสมือนกับแสงมาจากจุดโฟกัสเสมือนของเลนส์เว้า ดังภาพ

ส่วนประกอบของเลนส์์
เลนส์นูน                                                      เลนส์เว้า
  • แนวทิศทางของแสงที่ส่องมายังเลนส์เรียกว่า แนวรังสีของแสง ถ้าแสงมาจากระยะไกลมาก หรือระยะอนันต์ เช่นแสงจากดวงอาทิตย์หรือดวงดาวต่างๆ แสงจะส่องมาเป็นรังสีขนาน
  • จุดโฟกัสของเลนส์หรือจุด F ถ้าเป็นเลนส์นูนจะเกิดจากรังสีหักเหไปรวมกันที่จุดโฟกัส แต่ถ้าเป็นเลนส์เว้าจะเกิดจุดเสมือนแสงมารวมกันหรือจุดโฟกัสเสมือน
  • แกนมุขสำคัญ (Principal axis) คือเส้นตรงที่ลากผ่านกึ่งกลางของเลนส์และจุดศูนย์กลางความโค้งของผิวเลนส์
  • จุด O คือ จุดใจกลางเลนส์ (Optical center)
  • จุด C คือ จุดศูนย์กลางความโค้งของผิวเลนส์ ( Center of Curvature)
  • OC เป็น รัศมีความโค้ง (Radius of curvature) เขียนแทนด้วย R
  • F เป็นความยาวโฟกัส (Focal length) โดยความยาวโฟกัสจะเป็นครึ่งหนึ่งของรัศมีความโค้ง (R = 2F)

การเขียนทางเดินของแสงผ่านเลนส์
เราสามารถหาตำแหน่งและลักษณะของภาพที่เกิดจากเลนส์นูนหรือเลนส์เว้าโดยวิธีการเขียนทางเดินของแสงผ่านเลนส์ได้ ซึ่งมีลำดับขั้นตอนดังนี้
  • เขียนเลนส์ แกนมุขสำคัญ จุดโฟกัส และจุดกึ่งกลางของเลนส์
  • กำหนดตำแหน่งวัตถุ ใช้รังสี 2 เส้นจากวัตถุ เส้นแรกคือรังสีที่ขนานแกนมุขสำคัญ แล้วหักเหผ่านจุดโฟกัสของเลนส์ และเส้นที่ 2 คือ รังสีจากวัตถุผ่านจุดกึ่งกลางของเลนส์โดยไม่หักเห จุดที่รังสีทั้ง 2 ตัดกัน คือ ตำแหน่งภาพ

การเกิดภาพจริงและภาพเสมือน มีลักษณะดังนี้
- ถ้ารังสีของแสงทั้ง 2 เส้นตัดกันจริง จะเกิดภาพจริง
- ถ้ารังสีของแสงทั้งสองเส้นไม่ตัดกันจริง จะเกิดภาพเสมือน

ภาพที่เกิดจากเลนส์
1. ภาพที่เกิดจากเลนส์นูน
    • เลนส์นูนสามารถให้ทั้งภาพจริงและภาพเสมือน และภาพจริงเป็นภาพที่ฉากสามารถรับได้เป็นภาพหัวกลับกับวัตถุ ส่วนภาพเสมือนเป็นภาพที่ฉากไม่สามารถรับได้ เป็นภาพหัวตั่งเหมือนวัตถุ
    • ภาพจริงที่เกิดจากเลนส์นูนมีหลายขนาด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะวัตถุ และตำแหน่งภาพจริงที่จะเกิดหลังเลนส์
    • ภาพเสมือนที่เกิดจากเลนส์นูนมีขนาดใหญ่กว่าวัตถุและตำแหน่งภาพเสมือนจะเกิดหน้าเลนส์

เลนส์นูนจะให้ทั้งภาพจริงและภาพเสมือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของวัตถุ ถ้าระยะวัตถุมากกว่า ความยาวโฟกัส จะเกิดภาพจริง แต่ถ้าระยะวัตถุน้อยกว่าความยาวโฟกัส จะเกิดภาพเสมือน

2. ภาพที่เกิดจากเลนส์เว้า
เลนส์เว้าให้ภาพเสมือนเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าระยะวัตถุจะมากหรือน้อยกว่าความยาวโฟกัส และขนาดภาพมีขนาดเล็กกวาวัตถุเท่านั้น
การคำนวณหาชนิดและตำแหน่งของภาพที่เกิดจากเลนส์
สูตร 1/f = 1/s + 1/s’
m = I/O = s’/s
s คือ ระยะวัตถุ ( จะมีเครื่องหมายเป็น + เมื่อเป็นวัตถุจริง เป็น – เมื่อเป็นวัตถุเสมือน)
s’ คือ ระยะภาพ ( ถ้าภาพจริงใช้เครื่องหมาย + และภาพเสมือนใช้เครื่องหมาย –)
f คือ ความยาวโฟกัสของเลนส์ ( เครื่องหมาย + สำหรับเลนส์นูน และเครื่องหมาย – สำหรับเลนส์เว้า)
m คือ กำลังขยายของเลนส์ ( เครื่องหมาย + สำหรับภาพจริง และภาพเสมือนใช้เครื่องหมาย –)
I คือ ขนาดหรือความสูงของภาพ ( เครื่องหมาย + สำหรับภาพจริง และภาพเสมือนใช้เครื่องหมาย –)
O คือ ความสูงของวัตถุ ( จะมีเครื่องหมาย + เสมอ)

ความสว่าง
1. อัตราการให้พลังงานแสงของแหล่งกำเนิดแสง
แสงเป็นพลังงานรูปหนึ่ง และทำให้เกิดความสว่างบนพื้นที่ที่แสงตกกระทบ วัตถุที่ผลิตแสงได้ด้วยตัวเอง เรียกว่า แหล่งกำเนิดแสง เช่น ดวงอาทิตย์ เทียนไข และหลอดไฟฟ้า และปริมาณพลังงานแสงที่ส่องออกมาจากแหล่งกำเนิดแสงใดๆ ต่อ หนึ่งหน่วยเวลา เรียกว่า อัตราการให้พลังงานแสงของแหล่งกำเนิดแสง มีหน่วยเป็น ลูเมน(lumen ; lm)
2. ค่าความสว่าง
พลังงานแสงที่ทำให้เกิดความสว่างบนพื้นที่ที่รับแสง ถ้าพิจารณาพื้นที่ใดๆ ที่รับแสง ความสว่างบนพื้นที่นั้นหาได้จาก
กล่องข้อความ: E = F / A  
F เป็น อัตราพลังงานแสงที่ตกบนพื้น มีหน่วยเป็นลูเมน (lumen : lm)
A เป็น พื้นที่รับแสง มีหน่วยเป็นตารางเมตร m 2
E เป็น ความสว่าง มีหน่วยเป็นลักซ์ (lux ; lx)

การตอบสนองของนัยน์ตาต่อความเข้มของแสง
เนื่องจากนัยน์ตาเป็นอวัยวะที่มีความไวต่อแสงมาก สามารถรับรู้ได้เมื่อมีแสงสว่างเพียงเล็กน้อย เช่น แสงจากดวงดาวที่อยู่ไกลในคืนเดือนมืดจนถึงแสงสว่างที่มีปริมาณมาก ทั้งนี้เนื่องจากเรตินาจะมีเซลล์รับแสง 2 ชนิด คือ
1. เซลล์รูปแท่ง(Rod Cell) ทำหน้าที่รับแสงสว่าง ( สลัว) ที่ไวมาก สามารถมองเห็นภาพขาวดำ เซลล์ รูปแท่งจะไวเฉพาะต่อแสงที่มีความเข้มน้อย โดยจะไม่สามารถจำแนกสีของแสงนั้นได้
2. เซลล์รูปกรวย(Cone Cell) จะไวเฉพาะต่อแสงที่มีความเข้มสูงถัดจากความไวของเซลล์รูปแท่ง และสามารถจำแนกแสงแต่ละสีได้ด้วย เซลล์รูปกรวยมี 3 ชนิด แต่ละชนิดจะมีความไวต่อแสงสีปฐมภูมิต่างกัน ชนิดที่หนึ่งมีความไวสูงสุดต่อแสงสีน้ำเงิน ชนิดที่สองมีความไวสูงสุดต่อแสงสีเขียว และชนิดที่สามมีความไวสูงสุดต่อแสงสีแดง เมื่อมีแสงสีต่างๆ ผ่านเข้าตามากระทบเรตินา เซลล์รับแสงรูปกรวยจะถูกกระตุ้น และสัญญาณกระตุ้นนี้จะถูกส่งผ่านประสาทตาไปยังสมอง เพื่อแปรความหมายออกมาเป็นความรู้สึกเห็นเป็นสีของแสงนั้น ๆ
ความเข้มของแสงต่อนัยน์ตามนุษย์
ดวงตาของมนุษย์สามารถรับแสงที่มีความเข้มน้อยมากๆ เช่น แสงริบหรี่ในห้องมืด ๆ ไปจึงถึงแสงสว่างจ้าของแสงแดดตอนเที่ยงวัน ซึ่งมีความเข้มแสงมากกว่าถึง 10 เท่า นอกจากนี้ดวงตายังสามารถปรับให้มองเห็นได้แม้ตัวอักษรที่เป็นตัวพิมพ์เล็กๆ สามารถบอกรูปร่างและทรวดทรงที่แตกต่างกันในที่ที่มีความเข้มของแสงแตกต่างกันมากๆได้ โดยการปรับของรูม่านตา ดังภาพ

การมองเห็นวัตถุ

การมองเห็นวัตถุ เกิดจากการที่แสงไปตกกระทบสิ่งต่างๆ แล้วเกิดการสะท้อนเข้าสู่ตาเรา และผ่านเข้ามาในลูกตา ไปทำให้เกิดภาพบนจอ (Retina) ที่อยู่ด้านหลังของลูก ข้อมูลของวัตถุที่มองเห็นจะส่งขึ้นไปสู่สมองตามเส้นประสาท (optic nerve) สมองจะแปลข้อมูลเป็นภาพของวัตถุนั้น

ฝิ่น

กัญชา

ประวัติกีฬาฟุตบอล

ประวัติกีฬาฟุตบอล
ฟุตบอล (Football) หรือซอคเก้อร์ (Soccer) เป็นกีฬาที่มีผู้สนใจที่จะชมการแข่งขันและเข้าร่วมเล่น
มากที่สุดในโลก
ชนชาติใดเป็นผู้กำเนิดกีฬาชนิดนี้อย่างแท้จริงนั้นไม่อาจจะยืนยันได้แน่นอน
เพราะแต่ละชนชาติต่างยืนยันว่าเกิดจากประเทศของตน แต่ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศอิตาลี
ได้มีการละเล่นชนิดหนึ่งที่เรียกว่า "ซูเลอ" (Soule) หรือจิโอโค เดล คาซิโอ (Gioco Del Calcio)
มีลักษณะการเล่นที่คล้ายคลึงกับกีฬาฟุตบอลในปัจจุบัน
ทั้งสองประเทศอาจจะถกเถียงกันว่า
กีฬาฟุตบอลถือกำเนิดจากประเทศของตน
อันเป็นการหาข้อยุติไม่ได้ เพราะขาดหลักฐานยืนยันอย่างแท้จริง
ดังนั้น ประวัติของกีฬาฟุตบอลที่มีหลักฐานที่แท้จริงสามารถจะอ้างอิงได้ เพราะการเล่นที่ม
ีกติการการแข่งขันที่แน่นอน
คือประเทศอังกฤษเพราะประเทศอังกฤษตั้งสมาคมฟุตบอล
ในปี พ.ศ. 2406 และฟุตบอลอาชีพของอังกฤษเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2431
วิวัฒนาการด้านฟุตบอลจะเป็นไปพร้อมกับความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ตลอดมา ต้นกำเนิดกีฬาตะวันออกไกลจะได้รับอิทธิพลมาจากสงครามครั้งสำคัญๆ เช่น
สงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ได้นำเอา "แกลโล-โรมัน" (Gello-Roman)
พร้อมกีฬาต่างๆ เข้ามาสู่เมืองกอล (Gaul) อันเป็นรากฐานส่วนหนึ่งของกีฬาฟุตบอลในอนาคต
และการเล่นฮาร์ปาสตัม (Harpastum) ได้ถูกดัดแปลงมาเป็นกีฬาซูเลอ

วิวัฒนาการของฟุตบอล
ภาคตะวันออกไกล
ขงจื้อได้กล่าวไว้ในหนังสือ "กังฟู" เกี่ยวกับกีฬา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกีฬาที่ใช้เท้า
และศีรษะในสมัยจักรพรรดิ์ เซิงติ (Emperor Cneng Ti) (ปี 32 ก่อนคริสตกาล)
มีการเล่นกีฬาที่คล้ายกับฟุตบอลซึ่งเรียกว่า"ซือ-ซู" (Tsu-Chu) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกหนังด้วยเท้า

กีฬาชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ซึ่งนักประพันธ์และนักประวัติศาสตร์ในสมัยนั้นได้ยกย่อง
ผู้เล่นที่มีชื่อเสียงให้เป็นวีรบุรุษของชาติ
และในสมัยเดียวกันได้มีการเล่นคล้ายฟุตบอลใน
ประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย
ภาคตะวันออกกลาง
ในกรุงโรม ความเจริญของตะวันออกไกลได้แผ่ขยายถึงตะวันออกกลางโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอิทธิพลของสงคราม
โดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช
การเล่นกีฬาชนิดหนึ่งเรียกว่า ฮาร์ปาสตัม เป็นกีฬาที่นิยมของชาวโรมัน
และชาวกรีกโบราณวิธีการเล่นคือ มีประตูคนละข้าง
แล้วเตะลูกบอลไปยังจุดหมายที่ต้องการ เช่น
จากหมู่บ้านหนึ่งไปอีกหมู่บ้านหนึ่ง
การเล่นจะเป็นการเตะ หรือการขว้างไปข้างหน้าฮาร์ปาสตัม
หมายถึงการเหวี่ยงไปข้างหน้า
การเล่นกีฬาฮาร์ปาสตัมในกรุงโรมดูเหมือนจะเป็นต้นกำเนิด
ของกีฬาซึ่งมีการเล่นในสมัยกลาง
ในการเล่นฮาร์ปาสตัม ขนาดของสนามจะเล็กกว่าสนามกีฬาซูเลอ แต่จุดประสงค์ของกีฬาทั้งสอง
คือ การนำลูกบอล ไปยังแดนของตน
แต่เนื่องจากมีเสียงอึกทึกโครมครามจากการวิ่งแย่งลูกบอล
ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้มากมาย อันเป็นข้อห้ามของพระเจ้า จึงมีพระบรมราชโองการในนาม
ของพระเจ้าแผ่นดินห้ามเล่นกีฬาดังกล่าวในเมือง
ผู้ฝ่าฝืนมีโทษถึงจำคุก นอกจากนี้ยังมีข้อห้าม
ซึ่งออกในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ.1892 ขอให้เล่นยิงธนูในวันฉลองต่าง ๆ แทนการเล่นเกมฟุตบอล
ในโอกาสต่อมากีฬาฟุตบอลได้จัดให้มีการแข่งขันกันอีกครั้ง ซึ่งเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างทีมต่างๆ
ที่อยู่ห่างกันประมาณ 3-4 ไมล์ ( 5-6.5 กิโลเมตร- )
ในปี พ.ศ. 2344 กีฬาชนิดนี้ได้ขัดเกลาให้ดีขึ้น มีการกำหนดจำนวนผู้เล่นให้เท่ากันในแต่ละข้าง
ขนาดของสนามอยู่ในระหว่าง 80 - 100 หลา (73-91 เมตร) และมีประตูทั้งสองข้างที่ริมสุดของสนาม
ซึ่งทำด้วยไม้ 2 อัน
ห่างกัน 2-3 ฟุต
ในปี พ.ศ. 2366 ได้จัดให้มีการเล่นฟุตบอลในรูปแบบของการเล่นใน ปัจจุบัน William Alice
คือผู้เริ่มวางกฎบังคับต่างๆ สำหรับกีฬาฟุตบอลและรักบี้ ในปี พ.ศ. 2393 ได้มีการออกระเบียบ
และกฎของการเล่นไปสู่ ดินแดนต่างๆ ให้ปฏิบัติตาม
โดยจำกัดจำนวนผู้เล่นให้มีข้างละ 15-20 คน
ในปี พ.ศ. 2413 มีการกำหนดผู้เล่นให้เหลือข้างละ 11 คน โดยมีผู้เล่นกองหน้า 9 คน และผู้เล่น
รักษาประตู 2 คน
โดยผู้รักษาประตูใช้เท้าเล่นเหมือน 9 คนแรกจนกระทั่งให้เหลือผู้รักษาประตู 1 คน
แต่อนุญาตให้ใช้มือจับลูกบอลได้ในปี พ.ศ. 2423
ในปี พ.ศ. 2400 สโมสรฟุตบอลได้ก่อตั้งเป็นครั้งแรกที่เมืองเซนพัสด์ประเทศอังกฤษ
และต่อมาในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2406 สโมสรฟุตบอล 11 แห่งได้มารวมกันที่กรุงลอนดอน
เพื่อก่อตั้งสมาคมฟุตบอลขึ้น
ซึ่งถือเป็นรากฐานในการกำเนิดสมาคมแห่งชาติ จนถึง 140 สมาคม และทำให้ผู้เล่นฟุตบอลต้องเล่นตามกฎและกติกาของสมาคมฟุตบอล จนเวลาผ่านไปจากคำว่า
Association ก็ย่อเป็น Assoc และกลายเป็น Soccer ขึ้นในที่สุด
ซึ่งนิยมเรียกกันในประเทศอังกฤษ
แต่ชาวอเมริกันเรียกว่า Football หมายถึง American football
ภายนอกเกาะอังกฤษ พวกกะลาสีเรือ ทหาร พ่อค้า วิศวกร หรือแม้แต่นักบวชได้นำกีฬาชนิดนี้
ไปเผยแพร่ ประเทศเดนมาร์กเป็นประเทศที่ 2 ในยุโรป
ในอเมริกาใต้ สโมสรแรกได้ถูกตั้งขึ้นในประเทศอาร์เจนตินา เมื่อพี่น้องชาวอังกฤษ 2 คน ได้ลงข้อความโฆษณาในหนังสือพิมพ์ของเมืองบูเอโนสไอเรส (Buenos Aires) เพื่อ หาผู้อาสาสมัคร
ในปี พ.ศ. 2427 กีฬาฟุตบอลก็กลายมาเป็นวิชาหนึ่งในโรงเรียนของเมืองบูเอโนสไอเรส

การแข่งขันระดับชาติครั้งแรกในทวีปอเมริกาใต้ คือ
การแข่งขันระหว่างอาร์เจนตินากับอุรุกวัย
ในปี พ.ศ.2448 แต่อเมริกาเหนือเริ่มแข่งขันเมื่อปี พ.ศ. 2435
ในอิตาลี ฮาร์ปาสตัมเป็นต้นกำเนิดจิโอโค เดล คาลซิโอ ผู้เล่นกีฬาจะเป็นผู้นำทางสังคม
หรือแม้แต่ผู้นำชั้นสูงของศาสนา
เช่นสันตปาปา เกลาเมนต์ที่ 7 ลีออนที่ 10 และเออร์เบนที่ 7
เป็นถึงแชมเปี้ยนในกีฬาฟลอเรนไทน์ฟุตบอล
ต่อมาชาวโรมันได้ดัดแปลงเกมการเล่นฮาร์ปาสตัมเสียใหม่
โดยกำหนดให้ใช้เท้าแตะลูกบอลเท่านั้น ส่วนมือให้ใช้เฉพาะการทุ่มลูกบอล ซึ่งนักรบชาวโรมัน นิยมเล่นกันมาก
กีฬาฮาร์ปาสตัมซึ่งมีต้นกำเนิดจากสมัยโรมันได้ถูกแปลงมาเป็นกีฬาซูลอหรือซูเลอ
กีฬาชนิดนี้เหมือนกับฮาร์ปาสตัม คือ นำลูกบอลกลับไปยังแดนของตน แต่สนามมีขนาดกว้างกว่ามาก
การเล่นซูเลอมักจะมีขึ้นในบ่ายวันอาทิตย์หลังการสวดมนต์เย็น จะมีการแข่งขันสำคัญในช่วงเวลาดีคาร์นิวาล กีฬาชนิดนี้เป็นที่นิยมมากในเขตปริตานีและมอร์ลังดี กีฬานี้ได้ถูกเผยแพร่ไปยังอังกฤษโดยผู้ติดตาม
ของวิลเลี่ยมผู้พิชิตภายหลัง
การรบที่เฮสติ้ง (Hasting)
เมื่อ 900 ปีกว่ามาแล้ว ประเทศอังกฤษได้ตกอยู่ในความปกครองของพวกเคนส์ เชื้อสายโรมัน
ซึ่งยกกองทัพมาตีหมู่เกาะอังกฤษตอนใต้ และได้ปกครองเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 1589 อังกฤษเริ่มเข้มแข็งขึ้น และสามารถขับไล่พวกเคนส์ออกจากประเทศได้ หลังจากนั้น 2-3 ปี อังกฤษจึงเริ่มปรับปรุงประเทศเป็นการใหญ่
มีการขุดอุโมงค์ตามพื้นที่หลายแห่ง
ซึ่งในการขุดอุโมงค์คนงานคนหนึ่งได้ขุดไปพบกะโหลกศีรษะใน
บริเวณที่เคยเป็นสนามรบ
และเป็นที่ฝังศพของพวกเคนส์มาก่อนทุกคนในที่นั้นแน่ใจว่าเป็นกะโหลกศีรษะ
ของพวกเคนส์
อารมณ์แค้นจึงเกิดขึ้นทันทีเมื่อต่างคนต่างคิดถึงเหตุการณ์ที่ถูกพวกเคนส์กดขี่ทารุณจิตใจ
คนอังกฤษในสมัยนั้นด้วยเหตุผลนี้
คนงานคนหนึ่งจึงเตะกะโหลกศีรษะนั้นทันที ส่วนคนอื่นๆ ที่อยู่ในบริเวณนั้นก็พากันหยุดงานชั่วคราว แล้วหันมาเตะกะโหลกศีรษะเป็นการใหญ่ เพื่อระบายอารมณ์แค้นที่เก็บไว้อย่างสนุกสนาน ผลที่สุดเมื่อพวกนี้หากะโหลกศีรษะเตะกันไม่ได้ก็เอาถุงลมของวัวมาทำเป็นลูกกลมขึ้นเตะแทนกะโหลกศีรษะ
ปรากฏว่าเป็นที่รื่นเริงสนุกสนามกันมาก
ต่อมาชาวโรมันได้นำเกมนี้ไปเล่นในอังกฤษ จากนั้นชาวอังกฤษก็ได้ปรับปรุงวิธีการเล่น
เทคนิคการเล่น
ตลอดจนกติกาให้เหมือนในสมัยปัจจุบัน คือเกมฟุตบอลที่ใช้เท้าเล่น
แต่ในระยะแรกของการเล่นฟุตบอลจะเล่นกันเป็นกลุ่มๆ เฉพาะพวกคนธรรมดาเท่านั้น

ไม่มีการจำกัดจำนวนผู้เล่น ประตูจะห่างกันเป็นไมล์ และใช้เวลาในการเล่นหลายชั่วโมง

จะเป็นการเล่นระหว่างทหารใหม่ที่ถูกเกณฑ์ นักบวช คนที่แต่งงานแล้ว คนโสด และพวกพ่อค้า
เกมชนิดได้กลายเป็นสิ่งฉลองในงานพิธีต่างๆ เช่น ในวันโชรพ ทิวส์เดย์ (Shrove Tuesday)
จะมีฟุตบอลนัดสำคัญให้คนได้ชม
เกมในสมัยนั้นจะเล่นกันอย่างรุนแรงและมีการบาดเจ็บกันมาก
ในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 1857 พระเจ้าเอ๊ดเวิร์ดที่ 2 ได้ทรงออกพระราชกฤษฎีกา
เนื่องจากมีเสียงอึกทึกครึกโครมจาการวิ่งแย่งลูกบอล ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุมากมาย
อันเป็นข้อห้ามของพระเจ้า
โดยห้ามเล่นกีฬาดังกล่าว ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุก
ฟุตบอลได้เริ่มแข่งขันภายใต้กฎของสมาคมแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2412
ระหว่างทีมรัตเกอร์กับทีมบรินท์ตัน
จากนั้นกิจการฟุตบอลได้เจริญขึ้นช้าๆ
ในต่างจังหวัดจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการตั้ง
สมาคมฟุตบอลต่างจังหวัดขึ้นในปี พ.ศ. 2450 และมีการฝึกสอนในปี พ.ศ. 2484
ในทวีปเอเชีย อินเดียเป็นประเทศแรกที่เริ่มเล่นฟุตบอล ศาสตราจารย์จากวิทยาลัยกัลกัตตา
เป็นผู้นำสำเนากฎหมายการเล่นมาเผยแพร่ในปี พ.ศ. 2426 และในปี พ.ศ. 2435
ได้มีการแข่งขันชิงถ้วยรางวัลเป็นครั้งแรกในทวีปซึ่งยังไม่มีชื่อเสียงในด้านการเล่นฟุตบอล

กีฬาชนิดนี้ก็ได้เริ่มมีการเล่นมาก่อนร่วมร้อยปีแล้ว เช่น สมาคมฟุตบอลแห่งนิวเซาท์เวลส์
ได้ถูกตั้งขึ้นในออสเตรเลีย ปี พ.ศ. 2425 และสมาคมฟุตบอลของนิวซีแลนด์ได้ถูกตั้งขึ้นหลังจากนั้น 9 ปี
ในแอฟริกา สมาคมระดับชาติแห่งแรกได้ถูกตั้งขึ้นในประเทศแอฟริกาใต้
แต่อียิปต์เป็นประเทศแรกที่มีการแข่งขันระดับชาติในปี พ.ศ. 2467 คือ 3 ปี
หลังจากที่ได้ก่อตั้งสมาคมขึ้น
และอียิปต์สามารถเอาชนะฮังการีได้ 3-0 ในกีฬาโอลิมปิกที่ปารีส
การแข่งขันระดับชาติเป็นการแข่งขันระหว่างอังกฤษกับสกอตแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2415 และในปีแรกของศตวรรษที่ 20 โดยประเทศยุโรปอื่นๆ อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2447 กลุ่มประเทศต่างๆ ในแถบนี้ได้ประชุมกันที่ปารีสเพื่อตั้งสมาคมฟุตบอลนานาชาติขึ้น ในครั้งแรกก่อนการจัดตั้งสหพันธ์ 20 วัน สเปนและเดนมาร์กไม่เคยร่วมการแข่งขันระดับชาติมาก่อน และ 3 ประเทศใน 7 ประเทศ
ที่เข้าร่วมประชุมยังไม่มีสมาคมฟุตบอลในชาติของตน
แต่ฟีฟ่าก็แข็งแกร่งขึ้นเรื่อยมา
โดยมีสมาชิก 5 ชาติ ในปี พ.ศ. 2481 และ 73 ชาติ
ในปี พ.ศ. 2493 และในปัจจุบันมีสมาชิกถึง 146 ประเทศ
ที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของฟีฟ่า
ทำให้ฟีฟ่าเป็นองค์การกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลก
สมาพันธ์ประจำทวีปของสมาคมฟุตบอลแห่งแรกที่ตั้งขึ้นคือ Conmebol ซึ่งเป็นสมาพันธ์ของอเมริกาใต้ สมาพันธ์นี้ได้ถูกจัดขึ้นเพื่อจัดตั้งเพื่อจัดการแข่งขันชิงชนะเลิศภายในทวีปอเมริกาใต้ ในปี พ.ศ. 2460
เกือบครึ่งศตวรรษ ต่อมาเมื่การแข่งขันภายในทวีปได้แพร่หลายมากขึ้น
จึงได้มีการจัดตั้งสมาพันธ์ในทวีปอื่นๆ ขึ้นอีกคือสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป
ในปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการจัดตั้งในทวีปเอเชีย และ 2 ปี
ก่อนการจัดตั้งสมาคมฟุตบอลยุโรป ในปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีเดียวกับการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลแห่งแอฟริกา (Concacaf)หรือสหพันธ์ฟุตบอลแห่งอเมริกากลาง อเมริกาเหนือ
และแคริบเบี้ยน
ได้ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2504 และน้องใหม่ในวงการฟุตบอลโลกคือ สมาพันธ์ฟุตบอล
แห่งโอเชียนเนีย (Oceannir)

สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ
สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (Federation International Football Association FIFA)
ก่อตั้งขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2447 โดยสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศฝรั่งเศส
และประเทศที่เข้าร่วมก่อตั้ง 7 ประเทศคือ
ฝรั่งเศส เบลเยียม เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ สเปน สวีเดน
และสวิตเซอร์แลนด์
มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ เมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
สมาพันธ์ฟุตบอลที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ
1. Africa (C.A.F.) เป็นเขตที่มีสมาชิกมากที่สุด ได้แก่ ประเทศแอลจีเรีย ตูนิเซีย แซร์ ไนจีเรีย และซูดาน เป็นต้น
2. America-North and Central Caribbean (Concacaf) ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก
คิวบา เอติ เอลซัลวาดอร์
กัวเตมาลา และฮอนดูรัส เป็นต้น
3. South America (Conmebol) ได้แก่ ประเทศเปรู บราซิล อุรุกวัย โบลิเวีย อาร์เจนตินา ชิลี เวเนซุเอลา
อีคิวเตอร์ และโคลัมเบีย
เป็นต้น
4. Asia (A.F.C.)เป็นเขตที่มีสมาชิกรองจากแอฟริกา ได้แก่ ประเทศไทย มาเลเซีย เกาหลี ญี่ปุ่น
ฮ่องกง เลบานอน อิสราเอล อิหร่าน จอร์แดน
และเนปาล เป็นต้น
5. Europe (U.E.F.A.) เป็นเขตที่มีการพัฒนามากที่สุด ได้แก่ ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน
ฮังการี
อิตาลี สกอตแลนด์ รัสเซีย สวีเดน สเปน และเนเธอร์แลนด์ เป็นต้น
6. Oceannir เป็นเขตที่มีสมาชิกน้อยที่สุดและเพิ่งจะได้รับการแบ่งแยก ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย
นิวซีแลนด์ ฟิจิ และปาปัวนิวกินี เป็นต้น ซึ่งประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกต้องเสียค่าบำรุงเป็นรายปี
ปีละ 300 ฟรังสวิสส์ หรือประมาณ 2,400 บาท

สหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย

ในทวีปเอเชียมีการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเอเชีย (A.F.C.) เพื่อดำเนินการด้านฟุตบอล ดังนี้
พ.ศ. 2495 มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ โดยมีนักกีฬาและเจ้าหน้าที่
จากประเทศในเอเชียเข้ามาร่วมการแข่งขันด้วย
จึงได้ปรึกษาหารือกันในการจัดตั้งสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียขึ้น
พ.ศ. 2497 มีการแข่งขันเอเชียนเกมส์ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ก็ได้เริ่มตั้งคณะกรรมการจากชาติต่างๆ
ที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก 12 ประเทศ
พ.ศ. 2501 มีการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้อีก และมีประเทศเข้าร่วม
เป็นสมาชิกรวมเป็น 35 ประเทศ
พ.ศ. 2509 ฟีฟ่าได้มองเห็นความสำคัญของ A.F.C. จึงได้กำหนดให้มีเลขานุการประจำในเอเชีย
โดยออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด
รวมทั้งเงินเดือน และคนแรกที่ได้รับตำแหน่งคือ Khow Eve Turk
พ.ศ. 2517 ในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ที่เตหะราน ประเทศอิหร่านได้มีการประชุมประเทศสมาชิก A.F.C.
และที่ประชุมได้ลงมติขับไล่อิสราเอล ออกจากสมาชิก และให้จีนแดงเข้าเป็นสมาชิกแทน
ทั้งๆ
ที่จีนแดงไม่ได้เป็นสมาชิกของฟีฟ่า
นับว่าเป็นการสร้างเหตุการณ์ที่ประหลาดใจให้กับบุคคลทั่วไป
เป็นอย่างมากทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลทางการเมือง
พ.ศ. 2519 มีการประชุมกันที่ประเทศมาเลเซีย ปรากฏว่าประเทศสมาชิกได้ลงมติให้ขับไล่
ประเทศไต้หวันออกจากสมาชิก
และให้รับจีนแดงเข้ามาเป็นสมาชิกแทน ทั้งๆ ที่ไต้หวัน
เป็นประเทศที่ร่วมกันก่อตั้งสหพันธ์ขึ้นมา
งานของสหพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย
1. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Asian Cup
2. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Asian Youth
3. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุมฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก
4. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม Pre-Olympic
5. ดำเนินการจัดการแข่งขันและควบคุม World Youth
6. ควบคุมการแข่งขัน Kings Cup, President Cup, Merdeka, Djakarta Cup
นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากฟีฟ่าจัดส่งวิทยากรมาช่วยดำเนินการ

สรุปวิวัฒนาการของฟุตบอล
ก่อนคริสตกาล - อ้างถึงการเล่นเกมซึ่งเปรียบเสมือนต้นฉบับของกีฬาฟุตบอลที่เก่าแก่ที่
ได้มีการค้นพบจากการเขียนภาษาญี่ปุ่น-จีน
และในสมัยวรรณคดีของกรีกและโรมัน
ยุคกลาง - ประวัติบันทึกการเล่นในเกาะอังกฤษ อิตาลี และฝรั่งเศส
ปี พ.ศ. 1857 - พระเจ้าเอ๊ดเวิร์ดที่ 3 ทรงออกพระราชกฤษฎีกาห้ามเล่นฟุตบอล
เพราะจะรบกวนการยิงธนู
ปี พ.ศ. 2104 - Richardo Custor อาจารย์สอนหนังสือชาวอังกฤษกล่าวถึงการเล่นว่า
ควรกำหนดไว้ในบทเรียนของเยาวชน โดยได้รับอิทธิพลจาการเล่นกาลซิโอในเมืองฟลอเร้นท์
ปี พ.ศ. 2123 -Riovanni Party ได้จัดพิมพ์กติการการเล่นคาลซิโอ
ปี พ.ศ. 2223 -ฟุตบอลในประเทศอังกฤษได้รับพระบรมราชานุเคราะห์จากพระเจ้าชาร์ลที่ 2
ปี พ.ศ. 2391 -ได้มีการเขียนกฎข้อบังคับเคมบริดจ์ขึ้นเป็นครั้งแรก
ปี พ.ศ. 2406 -ได้มีการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลขึ้น
ปี พ.ศ. 2426 -สมาคมฟุตบอลจักรภพ 4 แห่ง ยอมรับองค์กรควบคุม และจัดตั้งกรรมการระหว่างชาติ
ปี พ.ศ. 2429 -สมาคมฟุตบอลเริ่มทำการฝึกเจ้าหน้าที่ที่จัดการแข่งขัน
ปี พ.ศ. 2431 -เริ่มเปิดการแข่งขันฟุตบอลลีก โดยยินยอมให้มีนักฟุตบอลอาชีพ
และเพิ่มอำนาจการควบคุมให้ผู้ตัดสิน
ปี พ.ศ. 2432 -สมาคมฟุตบอลส่งทีมไปแข่งขันในต่างประเทศ เช่น เยอรมันไปเยือนอังกฤษ
ปี พ.ศ. 2447 - ก่อตั้งฟีฟ่า ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่กรุงปารีส เมื่อ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2447
โดยสมาคมแห่งชาติคือ ฝรั่งเศส เบลเยียม เดนมาร์ก สเปน สวีเดน
และสวิตเซอร์แลนด์
ปี พ.ศ. 2480 - 2481 -ข้อบังคับปัจจุบันเขียนขึ้นตามระบบใหม่ขององค์กรควบคุม
โดยใช้ข้อบังคับเก่ามาเป็นแนวทาง


ประวัติฟุตบอลในประเทศไทย


          กีฬาฟุตบอลในประเทศไทย ได้มีการเล่นตั้งแต่สมัย "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" รัชกาลที่ 5
แห่งกรุงรัตนโกสิทร์ เนื่องจากสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้ส่งพระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าหลานยาเธอ
และข้าราชบริพารไปศึกษาวิชาการด้านต่างๆ ที่ประเทศอังกฤษ และผู้ที่นำกีฬาฟุตบอลกลับมายังประเทศไทยเป็นคนแรกคือ
"เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)" หรือ ที่ประชนชาวไทยมักเรียกชื่อสั้นๆว่า "ครูเทพ"

ซึ่งท่านได้แต่งเพลงกราวกีฬาที่พร้อมไปด้วยเรื่องน้ำใจนักกีฬาอย่างแท้จริง เชื่อกันว่าเพลงกราวกีฬาที่ครูเทพแต่งไว้นี้จะต้องเป็น
"เพลงอมตะ" และจะต้องคงอยู่คู่ฟ้าไทย

เมื่อปี พ.ศ. 2454-2458 ท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีกระทรวงธรรมการครั้งแรก เมื่อท่านได้นำฟุตบอลเข้ามาเล่นในประเทศไทยได้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆมากมาย โดยหลายคนกล่าวว่า ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ไม่เหมาะสมกับประเทศที่มีอากาศร้อน เหมาะสมกับประเทศที่มีอากาศหนาวมากกว่าและเป็นเกมที่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้เล่นและผู้ชมได้ง่าย ซึ่งข้อวิจารณ์ดังกล่าวถ้ามองอย่างผิวเผินอาจคล้อยตามได้ แต่ภายหลังข้อกล่าวหาดังกล่าวก็ได้ค่อยหมดไป จนกระทั่งกลายเป็น กีฬายอดนิยมที่สุดของประชาชนชาวไทยและชาวโลกทั่วทุกมุมโลก ซึ่งมีวิวัฒนาการดังกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลต่อไปนี้ พ.ศ. 2440 รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จนิวัติพระนคร กีฬาฟุตบอลได้รับความสนใจมากขึ้นจากบรรดาข้าราชการ บรรดาครูอาจารย์ ตลอดจนชาวอังกฤษในประเทศไทยและผู้สนใจชาวไทยจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ กอร์ปกับครูเทพท่านได้เพียรพยายามปลูกฝังการเล่นฟุตบอลในโรงเรียนอย่างจริงจัง และแพร่หลายมากในโอกาสต่อมา พ.ศ. 2443 (รศ. 119) การแข่งขันฟุตบอลเป็นทางการครั้งแรกของไทยได้เกิดขึ้น เมื่อวันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2443 (รศ. 119) ณ สนามหลวง ซึ่งเป็นสถานที่ออกกำลังกาย และประกอบงานพิธีต่างๆการแข่งขันฟุตบอลคู่ประวัติศาสตร์ของไทย ระหว่าง "ชุดบางกอก" กับ "ชุดกรมศึกษาธิการ" จากกระทรวงธรรมการหรือเรียกชื่อการแข่งขันครั้งนี้ว่า "การแข่งขันฟุตบอลตามข้อบังคับของแอสโซซิเอชั่น" เพราะสมัยก่อนเรียกว่า "แอสโซซิเอชั่นฟุตบอล" (ASSOCIATIONS FOOTBALL) สมัยปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า "การแข่งขันฟุตบอลของสมาคม" หรือ "ฟุตบอลสมาคม" ผลการแข่งขันฟุตบอลนัดพิเศษดังกล่าวปรากฏว่า "ชุดกรมศึกษาธิการ" เสมอกับ "ชุดบางกอก" 2-2 (ครึ่งแรก 1-0) ต่อมาครูเทพท่านได้วางแผนการจัดการแข่งขันฟุตบอลนักเรียนอย่างเป็นทางการพร้อมแปลกติกาฟุตบอล แบบสากลมาใช้ในการแข่งขันฟุตบอลนักเรียนครั้งนี้ด้วย พ.ศ. 2444 (รศ. 120) หนังสือวิทยาจารย์ เล่มที่ 1 ตอนที่ 7 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2444 ได้ตีพิมพ์เผยแพร่เรื่องกติกาการแข่งขันฟุตบอลสากลและการแข่งขันอย่างเป็นแบบแผนสากล การแข่งขันฟุตบอลนักเรียนครั้งแรกของประเทศไทยได้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2444 นี้ ผู้เข้าแข่งขันต้องเป็นนักเรียนชายอายุไม่เกิน 20 ปี ใช้วิธีจัดการแข่งขันแบบน็อกเอาต์ หรือแบบแพ้คัดออก (KNOCKOUT OR ELIMINATIONS) ภายใต้การดำเนินการจัดการ แข่งขันของ "กรมศึกษาธิการ" สำหรับทีมชนะเลิศติดต่อกัน 3 ปี จะได้รับโล่รางวัลเป็นกรรมสิทธิ์ พ.ศ. 2448 (รศ. 124) เดือนพฤศจิกายน สามัคยาจารย์ สมาคม ได้เกิดขึ้นครั้งแรกเป็น การแข่งขันฟุตบอลของบรรดาครูและสมาชิกครู โดยใช้ชื่อว่า "ฟุตบอลสามัคยาจารย์" พ.ศ. 2450-2452 (รศ. 126-128) ผู้ตัดสินฟุตบอลชาวอังชื่อ "มร.อี.เอส.สมิธ" อดีตนักฟุตบอลอาชีพได้มาทำการตัดสินในประเทศไทย เป็นเวลา 2 ปี ทำให้คนไทย โดยเฉพาะครู-อาจารย์ และผู้สนใจได้เรียนรู้กติกาและสิ่งใหม่ๆเพิ่มขึ้นมาก พ.ศ. 2451 (รศ. 127) มีการจัดการแข่งขัน "เตะฟุตบอลไกล" ครั้งแรก พ.ศ. 2452 (รศ. 128) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสวรรคต เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2452 นับเป็นการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของผู้สนับสนุนฟุตบอลไทยในยุคนั้น ซึ่งต่อมาในปีนี้ กรมศึกษาธิการก็ได้ประกาศใช้วิธีการแข่งขัน "แบบพบกันหมด" (ROUND ROBIN) แทนวิธีจัดการแข่งขันแบบแพ้คัดออกสำหรับคะแนนที่ใช้นับเป็นแบบของแคนาดา (CANADIAN SYSTEM) คือ ชนะ 2 คะแนน เสมอ 1คะแนน แพ้ 0 คะแนน และยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงมีความสนพระทัยกีฬาฟุตบอลเป็น อย่างยิ่งถึงกับทรงกีฬาฟุตบอลเอง และทรงตั้งทีมฟุตบอลส่วนพระองค์เองชื่อทีม "เสือป่า" และได้เสด็จพระราช ดำเนินประทับทอดพระเนตรการแข่งขันฟุตบอลเป็นพระราชกิจวัตรเสมอมา โดยเฉพาะมวยไทยพระองค์ทรงเคย ปลอมพระองค์เป็นสามัญชนขึ้นต่อยมวยไทยจนได้ฉายาว่า "พระเจ้าเสือป่า" พระองค์ท่านทรงพระปรีชาสามารถมาก จนเป็นที่ยกย่องของพสกนิกรทั่วไป จนตราบเท่าทุกวันนี้ จากพระราชกิจวัตรของพระองค์รัชกาลที่ 6 ทางด้านฟุตบอลนับได้ว่าเป็นยุคทองของไทยอย่างแท้จริง อีกทั้งยังมีการเผยแพร่ข่าวสาร หนังสือพิมพ์ และบทความต่างๆทางด้านฟุตบอลดังกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลต่อไปนี้ พ.ศ. 2457 (รศ. 133) พระยาโอวาทวรกิจ" (แหมผลพันชิน) หรือนามปากกา "ครูทอง" ได้เขียนบทความกีฬา "เรื่องจรรยาของผู้เล่นและผู้ดูฟุตบอล" และ "คุณพระวรเวทย์ พิสิฐ" (วรเวทย์ ศิวะศริยานนท์) ได้เขียน บทความกีฬา "เรื่องการเล่นฟุตบอล" และ "พระยาพาณิชศาสตร์วิธาน" (อู๋ พรรธนะแพทย์) ได้เขียนบทความกีฬาที่ประทับใจชาวไทยอย่างยิ่ง "เรื่องอย่าสำหรับนักเลงฟุตบอล" พ.ศ. 2458 (รศ. 134) ประชาชนชาวไทยสนใจกีฬาฟุตบอลอย่างกว้างขวาง เนื่องจาก กรมศึกษาธิการ ได้พัฒนาวิธีการเล่น วิธีจัดการแข่งขัน การตัดสิน กติกาฟุตบอลที่สากลยอมรับ ตลอดจนระเบียบการแข่งขันที่รัดกุมยิ่งขึ้น และผู้ใหญ่ในวงการให้ความสนใจอย่างแท้จริงนับตั้งแต่ พระองค์รัชกาลที่ 6 เองลงมาถึงพระบรมวงศานุวงศ์จนถึงสามัญชน และชาวต่างชาติ และในปี พ.ศ. 2458 จึงได้มีการแข่งขันฟุตบอลประเภทสโมสรครั้งแรกเป็นการชิงถ้วยพระราชทานและเรียกชื่อการแข่งขัน ฟุตบอลประเภทนี้ว่า "การแข่งขันฟุตบอลถ้วยทองของหลวง" การแข่งขันฟุตบอลสโมสรนี้เป็นการแข่งขันระหว่าง ทหาร-ตำรวจ-เสือป่า ซึ่งผู้เล่นจะต้องมีอายุเกินกว่าระดับทีมนักเรียน นับว่าเป็นการเพิ่มประเภทการแข่งขันฟุตบอล ราชกรีฑาสโมสร หรือสปอร์ตคลับ นับได้ว่าเป็นสโมสรแรกของไทยและเป็นศูนย์รวมของชาวต่างประเทศ ในกรุงเทพฯ ซึ่งยังอยู่ในปัจจุบัน และสโมสรสปอร์ตคลับเป็นศูนย์กลางของกีฬาหลายประเภท โดยเฉพาะกีฬาฟุตบอลได้มีผู้เล่นระดับชาติจากประเทศอังกฤษมาเข้าร่วมทีมอยู่หลายคน เช่น มร.เอ.พี.โคลปี. อาจารย์โรงเรียนราชวิทยาลัย นับได้ว่าเป็นทีมฟุตบอลที่ดี มีความพร้อมมากทั้งทางด้านผู้เล่น งบประมาณและสนามแข่งขันมาตรฐาน จึงต้องเป็นเจ้าภาพให้ทีมต่างๆของไทยเรามาเยือนอยู่เสมอ ทำให้วงการฟุตบอลไทยในยุคนั้นได้พัฒนายิ่งขึ้น และรัชกาลที่ 6 ทรงสนพระทัย โดยเสด็จมาเป็นองค์ประธานพระราชทานรางวัลเป็นพระราชกิจวัตร ทำให้ประชาชนเรียกการแข่งขันสมัยนั้นว่า "ฟุตบอลหน้าพระที่นั่ง" และระหว่างพักครึ่งเวลามีการแสดง "พวกฟุตบอลตลกหลวง" นับเป็นพิธีชื่นชอบของปวงชนชาวไทยสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่ง และการแข่งขันฟุตบอลสโมสรครั้งแรกนี้ มีทีมสมัครเข้าร่วมแข่งขันจำนวน 12 ทีม ใช้เวลาในการแข่งขัน 46 วัน (11 ก.ย.-27 ต.ค. 2458) จำนวน 29 แมตช์ ณ สนามเสือป่า ถนนหน้าพระลาน สวนดุสิต กรุงเทพมหานคร หรือสนามหน้ากองอำนวนการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติปัจจุบันพระองค์รัชกาลที่ 6 ได้ทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการแข่งขันนับว่าฟุตบอลไทยมีระบบ ในการบริหารมานานนับถึง 72 ปีแล้ว ความเจริญก้าวหน้าของฟุตบอลภายในประเทศได้แผ่ขยายกว้างขวางทั่วประเทศไปสู่สโมสรกีฬา-ต่าง จังหวัดหรือชนบทอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นที่นิยมกันทั่วไปภายใต้การสนับสนุนของรัชกาลที่ 6 และพระองค์ท่านทรงเล็งเห็นกาลไกลว่าควรที่ตะตั้งศูนย์กลางหรือสมาคมอย่างมีระบบแบบแผนที่ดี โดยมีคณะกรรมการบริหารสมาคมและทรงมีพระบรมราชโองการก่อตั้ง "สโมสรคณะฟุตบอลสยาม" ขึ้นมาโดยพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเล่นฟุตบอลเอง รัชกาลที่ 6 ได้ทรงมีวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามดังนี้คือ 1. เพื่อให้ผู้เล่นฟุตบอลมีพลานามัยที่สมบูรณ์ 2. เพื่อก่อให้เกิดความสามัคคี 3. เพื่อก่อให้เกิดไหวพริบ และเป็นกีฬาที่ประหยัดดี 4. เพื่อเป็นการศึกษากลยุทธ์ในการรุกและการรับเช่นเดียวกับกองทัพทหารหาญ จากวัตถุประสงค์ดังกล่าว นับเป็นสิ่งที่ผลักดันให้สมาคมฟุตบอลแห่งสยามดำเนินกิจการเจริญก้าวหน้ามา จนตราบถึงทุกวันนี้ ซึ่งมีกำลังอยู่ระหว่างปรับปรุงข้อมูลดังนี้ พ.ศ. 2458 (ร.ศ. 134) การแข่งขัน ระหว่างชาติครั้งแรกของประเทศไทย เมื่อวันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 ณ สนามราชกรีฑาสโมสร (สนามม้าปทุมวันปัจจุบัน) ระหว่าง "ทีมชาติสยาม" กับ "ทีมราชกรีฑาสโมสร" ต่อหน้าพระที่นั่ง และมี "มร.ดักลาส โรเบิร์ตสัน" เป็นผู้ตัดสิน ซึ่งผลการแข่งขันปรากฏว่าทีมชาติสยามชนะ ทีมราชกรีฑาสโมสร 2-1 ประตู (ครึ่งแรก 0-0) และครั้งที่ 2 เมื่อวันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2458 เป็นการแข่งขันระหว่างชาตินัดที่ 2 แบบเหย้าเยือนต่า หน้าพระที่นั่ง ณ สนามเสือป่าสวนดุสิต และผลปรากฏว่า ทีมชาติสยามเสมอกับทีมราชกรีฑา สโมสร หรือทีมรวมต่างชาติ 1-1 ประตู (ครึ่งแรก 0-0) สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย(THE FOOTBALL ASSOCIATION OF THAILAND) มีวิวัฒนาการตามลำดับต่อไปนี้ พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งสยามขึ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน พุทธศักราช 2459และตราข้อบังคับขึ้นใช้ในสนามฟุตบอลแห่งสยามด้วยซึ่งมีชื่อย่อว่า ส.ฟ.ท. และเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "THE FOOTBALL ASSOCIATION OF THAILAND UNDER THE PATRONAGE OF HIS MAJESTY THE KING" ใช้อักษรย่อว่า F.A.T. และสมาคมฯ จัดการแข่งขันถ้วยใหญ่และถ้วยน้อยเป็นครั้งแรกในปีนี้ด้วย พ.ศ. 2468 เป็นภาคีสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลระหว่างชาติ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พุทธศักราช 2468 ชุดฟุตบอลเสือป่าพรานหลวง ได้รับถ้วยของพระยาประสิทธิ์ศุภการ (เจ้าพระยารามราฆพ) ซึ่งเล่นกับชุดฟุตบอลกรมทหารรักษาวัง เมื่อ พ.ศ. 2459-2460 ได้รับไว้เป็นกรรมสิทธิ์ โดยชนะ 2 ปีติดต่อกัน รายนามผู้เล่น 1. ผัน ทัพภเวส 2. ครูเพิ่ม เมษประสาท (พระดรุณรักษา) 3. ครูเธียร วรธีระ (หลวงวิเศษธีระการ) 4. จรูญฯ (พระทิพย์จักษุศาสตร์) 5. ก้อนดิน ราหุลหัต (หลวงศิริธารา) 6. ครูสำลี จุโฬฑก (หลวงวิศาลธีระการ) 7. ครูหับ ปีตะนีละผลิน (หลวงประสิทธิ์นนทเวท) 8. ตุ๋ย ศิลปี (หลวงจิตร์เจนสาคร) 9. แฉล้ม กฤษณมระ (พระประสิทธิ์บรรณสาร) 10. จิ๋ว รามนัฎ (หลวงยงเยี่ยงครู) 11. ลิ้ม ทูตจิตร์ (พระวิสิษฐ์เภสัช) ชุดฟุตบอลสโมสรกรมหรสพ ได้รับพระราชทาน "ถ้วยใหญ่" ของสมาคมฟุตบอลแห่งสยาม ในพระบรม ราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2459 รายนามผู้เล่น 1. ครูเพิ่ม เมษประสาท (พระดรุณรักษา) 2. ครูเธียร วรธีระ (หลวงวิเศษธีระการ) 3. เจ็ก สุนทรกนิษฐ์ 4. บุญ บูรณรัฎ 5. ใหญ่ มิลินทวณิช (หลวงมิลินทวณิช) 6. ครูหับ ปีตะนีละผลิน (หลวงประสิทธิ์นนทเวท) 7. ผัน ทัพภเวส 8. ถม โพธิเวช 9. แฉล้ม พฤษณมระ (พระประสิทธิ์บรรณสาร) 10. หลวงเยี่ยงครู (ถือถ้วยใหญ่) 11. เกิด วัชรเสรี (ขุนบริบาลนาฎศาลา) พ.ศ. 2499 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ ครั้งที่ 3 และเรียกว่าข้อบังคับ ลักษณะปกครอง           พ.ศ. 2499 สมาคมฟุตบอลฯ ได้สิทธิ์ส่งทีมฟุตบอลชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขัน "กีฬาโอลิมปิก" ครั้งที่ 16 นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยมีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2499 ณ นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย          พ.ศ. 2500 เป็นภาคีสมาชิกสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย ซึ่งมีชื่อย่อว่า เอเอฟซี และเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "ASIAN FOOTBALL CONFEDERATION" ใช้อักษรย่อว่า A.F.C. พ.ศ. 2501 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับลักษณะปกครอง ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2503 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับลักษณะปกครอง ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2504-ปัจจุบัน สมาคมฟุตบอลฯได้จัดการแข่งขันฟุตบอลถ้วยน้อย และถ้วยใหญ่ ซึ่งภายหลังได้จัดการแข่งขันแบบเดียวกันของสมาคมฟุตบอล อังกฤษคือจัดเป็นประเภทถ้วยพระราชทาน ก, ข, ค, และ ง และยังจัดการแข่งขันประเภทอื่นๆ อีกเช่น ฟุตบอลนักเรียน ฟุตบอลเตรียมอุดม ฟุตบอลอาชีวะ ฟุตบอลเยาวชนและอนุชน ฟุตบอลอุดมศึกษา ฟุตบอลเอฟเอ คัพ ฟุตบอลควีส์ คัพ ฟุตบอลคิงส์คัพ เป็นต้น ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้จัดการแข่งขันและส่งทีมเข้าร่วมกับทีมนานาชาติมากมายจนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2511 สมาคมฟุตบอลได้สิทธิ์ส่งทีมฟุตบอลชาติไทยเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2511 ณ ประเทศเม็กซิโก พ.ศ. 2514 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับลักษณะปกครอง ครั้งที่ 6 ชุดฟุตบอลทีมชาติไทย ชุดแรกที่เดินทางไปแข่งขัน "กีฬาโอลิมปิก" ครั้งที่ 16 ณ นครเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2499 พ.ศ. 2531 สมาคมฟุตบอลฯ ได้มีโครงการจัดการแข่งขันฟุตบอลภายในประเทศ รวมทั้งเชิญทีมต่างประเทศเข้าร่วมแข่งขัน และส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันในต่างประเทศตลอดปี
 
จากสภาพการณ์ปัจจุบันสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศฯ ได้สร้างเกียรติยศชื่อเสียงเป็นที่ปรากฏ และประจักษ์แจ้งแก่มวลสมาชิกฟุตบอลนานาชาติ ตัวอย่างประเทศเกาหลีได้จัดฟุตบอลเพรสซิเด้นคัพปี 2530 นี้ได้เชิญทีมฟุตบอลชาติไทยเท่านั้นแสดงว่าแสดงว่าสมาคมฟุตบอลของไทยได้บริหารทีมฟุตบอลเป็นทีมที่มีมาตรฐาน สูงสุดจนเป็นที่ยอมรับของเอเชียในปัจจุบันและต่อจากนี้ไป ในปีพุทธศักราช 2530 นี้ สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้วางแผนพัฒนาทีมฟุตบอลชาติไทยให้ยิ่งใหญ่ยิ่งขึ้น โดยมีโครงการทีมฟุตบอลชาติไทยชุดถาวรของสมาคมฟุตบอลฯ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลชาติไทย ซึ่งนักฟุตบอลทุกคนของสมาคมฯจะได้รับเงินเดือนเดือน ละ 3,000 บาท ในช่วงปี 2530-2531 นอกจากนี้สมาคมฟุตบอลฯได้วางแผนพัฒนาเกี่ยวกับการฝึกซ้อมและแข่งขันฟุตบอล โดยนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วยในการฝึกด้วยตลอดจนหาช้างเผือกมาเสริมทีมชาติเพื่อเป็นตัวตายตัวแทนสืบไป ขอใหสโมสรสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านโปรดติดตามและเอาใจช่วยให้สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยจงเจริญรุ่งเรือง สืบไปชั่วนิจนิรันดร์

สิ่งเสพติด

สิ่งเสพติด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สิ่งเสพติด หรือที่เรียกกันว่า "ยาเสพติด" ในความหมายของ องค์การอนามัยโลก (World Health Organization or WHO) จะหมายถึงสิ่งที่เสพเข้าไปแล้วจะเกิดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อไปโดยไม่สามารถหยุดเสพได้ และจะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุด จะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่อร่างกายและจิตใจขึ้น
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พุทธศักราช 2522 ที่ใช้ในปัจจุบันได้กำหนดความหมายสิ่งเสพติดให้โทษดังนี้ สิ่งเสพติดให้โทษ หมายถึง "สารเคมีหรือวัตถุชนิดใดๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใดๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจใน ลักษณะสำคัญ เช่น ต้องเพิ่มปริมาณการเสพขึ้นเรื่อยๆ มีอาการขาดยาเมื่อไม่ได้เสพ มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุ่นแรงอยู่ตลอดเวลา และทำให้สุขภาพทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงพืช หรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษหรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ และสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับ ตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่"
ปัจจุบันนี้สิ่งเสพติดนับว่าเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ เพราะสิ่งเสพติดเป็นบ่อเกิดของปัญหาอื่นๆ หลายด้าน นับตั้งแต่ ตัวผู้เสพเองซึ่งจะเกิดความทุกข์ ลำบากทั้งกายและใจ และเมื่อหาเงินซื้อยาไม่ได้ก็อาจจะก่อให้เกิดอาชญากรรมต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้พ่อแม่พี่น้อง และสังคม ต้องสูญเสีย เงินทอง เสียเวลาทำมาหากิน ประเทศชาติต้องสูญเสียแรงงานและสูญเสียเงินงบประมาณในการปราบปรามและรักษาผู้ติดสิ่งเสพติด และเหตุผลที่ทำให้ สิ่งเสพติดเป็นปัญหาสำคัญของประเทศอีกข้อหนึ่งคือ ปัจจุบันมีผู้ติดสิ่งเสพติดเพิ่มมากขึ้นทั้งนี้ยังไม่รวมถึงจำนวนผู้ติดบุหรี่ สุรา ชา กาแฟ

[แก้] ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและการป้องกัน

ยาเสพติด หมายถึง สารเคมี หรือสารใดก็ตาม ซึ่งเมื่อบุคคลเสพ หรือรับเข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าโดยการฉีด การสูบ การกิน การดม หรือวิธีอื่น ติดต่อกัน เป็นเวลานาน หรือช่วงระยะเวลาหนึ่ง แล้วจะก่อให้เกิดเรื้อรัง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสื่อมโทรมขึ้นแก่บุคคลผู้เสพ และแก่สังคมด้วย ทั้งจะต้องทำให้ ผู้เสพแสดงออกซึ่งลักษณะ ดังนี้
  1. ผู้เสพมีความต้องการอย่างแรงกล้า ที่จะเสพยาชนิดนั้น ๆ ต่อเนื่องกันไป และต้องแสวงหายาชนิดนั้น ๆ มาเสพให้ได้ไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ ก็ตาม
  2. ผู้เสพจะต้องเพิ่มปริมาณของยาที่เคยใช้ให้มากขึ้นทุกระยะ
  3. ผู้เสพจะมีความปรารถนาอยากเสพยาชนิดนั้น ๆ อย่างรุนแรง ระงับไม่ได้ คือ มีการติดและอยากยาทั้งทาง ด้านร่างกายและจิตใจ

[แก้] ประเภทของยาเสพติด

จำแนกตามการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท แบ่งเป็น 4 ประเภท
  1. ประเภทกดประสาท ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท เครื่องดื่มมึนเมา บาร์บิทูเรต ทุกชนิด รวมทั้ง สารระเหย เช่น ทินเนอร์ แล็กเกอร์ น้ำมันเบนซิน กาวเป็นต้น มักพบว่าผู้เสพติดมี ร่างกายซูบซีด ผอมเหลือง อ่อนเพลีย ฟุ้งซ่าน อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
  2. ประเภทกระตุ้นประสาท ได้แก่ยาบ้า ยาไอซ์ ยาอี กระท่อม โคเคน เครื่องดื่มคาเฟอีน มักพบว่าผู้เสพติด จะมีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย จิตสับสน หวาดระแวง บางครั้งมีอาการคลุ้มคลั่ง หรือทำในสิ่งที่คนปกติ ไม่กล้าทำ เช่น ทำร้ายตนเอง หรือฆ่าผู้อื่น เป็นต้น
  3. ประเภทหลอนประสาท ได้แก่ แอลเอสดี เห็ดขี้ควาย ดี.เอ็ม.ที.และ ยาเค เป็นต้น ผู้เสพติดจะมีอาการประสาทหลอน ฝันเฟื่อง หูแว่ว ได้ยินเสียงประหลาดหรือเห็นภาพหลอนที่น่าเกลียดน่ากลัว ควบคุมตนเองไม่ได้ ในที่สุดมักป่วยเป็นโรคจิต
  4. ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน คือทั้งกระตุ้นกดและหลอนประสาทร่วมกัน ผู้เสพติดมักมี อาการหวาดระแวง ความคิดสับสน เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้และป่วยเป็นโรคจิตได้แก่ [[กัญชา]
จำแนกตามแหล่งที่มา 1 จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา ฯลฯ 2 จากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน ยาอี เอ็คตาซี ฯลฯ
จำแนกตามกฎหมาย
1 พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เช่น แอมเฟตามีน เฮโรอีน LSD ยาอี ฯลฯ 2 พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตใจและประสาท พ.ศ. 2518 เช่น อีเฟดรีน

[แก้] สาเหตุของการติดยาเสพติด

การติดยาเสพติดอาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจาก
  • ความอยากรู้อยากลอง ด้วยความคึกคะนอง เป็นส่วนใหญ่
  • เพื่อนชวน หรือต้องการให้เป็นที่ยอมรับจากกลุ่มเพื่อน
  • มีความเชื่อในทางที่ผิด เช่น เชื่อว่ายาเสพติดบางชนิด อาจช่วยให้สบายใจ ลืมความทุกข์ หรือช่วยให้ทำงานได้มากๆ
  • ขาดความระมัดระวังในการใช้ยา เพราะคุณสมบัติของยา บางชนิดอาจทำให้ผู้ใช้ยาเกิดการเสพติดได้โดยไม่รู้ตัว หากใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยขาดการแนะนำจากแพทย์ หรือเภสัชกร
  • สภาพแวดล้อม ถิ่นที่อยู่อาศัย มีการค้ายาเสพติด หรือมี ผู้ติดยาเสพติด
  • ถูกหลอกให้ใช้ยาเสพติดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
  • เพื่อหนีปัญหา เมื่อมีปัญหาแล้วไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับตัวเองได้

[แก้] การสังเกตผู้ติดยาเสพติด

ยาเสพติดเมื่อเกิดการเสพติดแล้ว จะมีผลกระทบต่อร่างกายและ จิตใจ ซึ่งทำให้ลักษณะและความประพฤติของผู้เสพเปลี่ยนไป จากเดิมที่อาจสังเกตพบได้ คือ ♥
  • ร่างกายทรุดโทรม ซูบผอม
  • อารมณ์ฉุนเฉียว หรือเงียบขรึมผิดปกติ จึงมักพบผู้เสพติดชอบทะเลาะวิวาทหรือทำร้ายผู้อื่นหรือในทางกลับกัน บางคนอาจชอบแยกตัว อยู่คนเดียวและหนีออกจากพรรคพวกเพื่อนฝูง
  • ถ้าผู้เสพเป็นนักเรียน มักพบว่า ผลการเรียนแย่ลง ถ้าเป็นคน ทำงาน มักพบว่าประสิทธิภาพในการทำงานลดลงหรือไม่ยอมทำงานเลย
  • ใส่เสื้อแขนยาวตลอดเวลา เพื่อปกปิดรอยเข็มที่ฉีดยาตรงท้องแขนด้านใน หรือรอยกรีดตรงต้นแขนด้านใน
  • ติดต่อกับเพื่อนแปลกๆใหม่ๆซึ่งมีพฤติกรรมผิดปกติ
  • ขอเงินจากผู้ปกครองเพิ่ม หรือยืมเงินจากเพื่อนฝูงเสมอเพื่อนำไปซื้อยาเสพติด
  • ขโมย ฉกชิง วิ่งราว เพื่อหาเงินไปซื้อยาเสพติด
  • ผู้ติดยาเสพติดบางชนิด เช่น เฮโรอีน จะมีอาการอยากยาบางคนจะมีอาการรุนแรงถึงขั้นลงแดง
อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวข้างต้น ไม่จำเป็นต้องเป็นผลมาจากการติดยาเสพติดเสมอไป อาจเกิดจากความผิดปกติในเรื่องอื่นก็ได้ เมื่อสงสัยว่า ผู้ใด ติดยาเสพติด จึงควรใช้การซักถาม อย่างตรงไปตรงมา ด้วยท่าทีที่เป็นมิตร พร้อมที่จะให้การช่วยเหลือ ผู้ที่ติดยาส่วนใหญ่ รู้ว่าการใช้ยาเสพติดเป็นเรื่องไม่ดี หลายรายเคยมีความคิดที่จะเลิกแต่ทำไม่สำเร็จ การถามด้วยท่าทีเป็นมิตรจึง เป็นการช่วยให้ผู้เสพได้พูด ตามความจริง คำถามที่ใช้ไม่ควร ถามว่าติดหรือไม่ แต่ควรถามพฤติกรรมการใ ช้ อาทิถามว่าเคยใช้หรือไม่ ครั้งสุดท้ายที่ใช้เมื่อไหร่ ฯลฯ

[แก้] ป้องกันยาเสพติด

  1. ป้องกันตนเอง ไม่ทดลองยาเสพติดทุกชนิด และพยายามปลีกตัวออกห่างจากบุคคลหรือกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ถ้ามีปัญหาหรือไม่สบายใจ อย่าเก็บไว้คนเดียว ควรปรึกษาพ่อแม่ ครู ผู้ใหญ่ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น อ่านหนังสือ เล่นกีฬาหรือทำงานอดิเรกต่าง ๆ ตามความสนใจและความถนัด ระมัดระวังในการใช้ยาต่าง ๆ และศึกษาให้เข้าใจถึงโทษภัยของยาเสพติด
  2. ป้องกันครอบครัว ควรสอดส่องดูแลเด็ก และบุคคลในครอบครัวอย่าให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด อบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษภัยของยาเสพติด ดูแลเรื่องการคบเพื่อน คอยส่งเสริมให้เขารู้จักการใช้เวลาในทางที่เป็นประโยชน์ เช่น การทำงานบ้าน เล่นกีฬา ฯลฯ เพื่อป้องกันมิให้เด็กหันเหไปสนใจในยาเสพติด สิ่งสำคัญก็คือทุกคนในครอบครัวควรสร้างความรัก ความเข้าใจ และความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
  3. ป้องกันชุมชน หากพบผู้ติดยาเสพติดควรช่วยเหลือแนะนำให้เข้ารับการบำบัดรักษาโดยเร็ว โดยกฎหมายจะยกเว้นโทษให้ผู้ที่สมัครเข้าขอรับการบำบัดรักษาอาการติดยาเสพติด ก่อนที่ความผิดจะปรากฏต่อเจ้าหน้าที่ และเมื่อรู้ว่าใครกระทำผิดฐานนำเข้าส่งออก หรือจำหน่ายยาเสพติด ควรแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ศุลกากร หรือเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.)




http://th.wikipedia.org/wiki/สิ่งเสพติด

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นวันสำคัญของไทยและมีความสำคัญต่อวงการวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ไทย กำหนดให้ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ. 2411 ปัจจุบันมีการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ขึ้นเป็นประจำทุกปี

[แก้] ประวัติ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายภาพร่วมกับเจ้าเมืองสิงคโปร์และแขกต่างประเทศ ณ ค่ายหลวงหว้ากอ
รัฐบาลไทยกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติเนื่องจากวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงที่หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตรงเกาะจานขึ้นไปถึงปราณบุรี และลงไปถึง จ.ชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ มีคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์
ผลการคำนวณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแม่นยำมาก เซอร์แฮรี ออด บันทึกเหตุการณ์ไว้ซึ่งต่อมาหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้แปลเป็นภาษาไทยในงานหว้ากอรำลึก ณ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2518 ว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระสำราญมาก เพราะการคำนวณเวลาสุริยุปราคาของพระองค์ ได้พิสูจน์แล้วว่าถูกถ้วนที่สุด ถูกถ้วนยิ่งกว่าที่ชาวยุโรปได้คำนวณไว้"
สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเฉพาะทางด้านดาราศาสตร์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคมเป็นวันวิทยาศาสตร์ไทย ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2511 หลายหน่วยงาน เช่น สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ กรมอุทกศาสตร์ กรมชลประทาน กรมแผนที่ทหาร กรมอุตุนิยมวิทยา กรมไปรษณีย์โทรเลข ฯลฯ ได้ร่วมกันจัดงานขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

[แก้] กิจกรรม

กิจกรรมที่ควรปฏิบัติในวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
  • ร่วมพิธีวางมาลาและเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • จัดนิทรรศการเผยแพร่พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • จัดกิจกรรมส่งเสริมงานด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ

[แก้] คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

  • 2532 พิทักษ์สิ่งแวดล้อมของชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 2533 เพิ่มคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 2534 ขจัดมลพิษทุกชีวิตจะปลอดภัย
  • 2535 เปลี่ยนขาดทุนให้เป็นกำไร โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 2536 วิทยาศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจ เพิ่มคุณค่าชีวิต พิทักษ์สิ่งแวดล้อม
  • 2537 ขจัดปัญหาน้ำของชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 2538 เทคโนโลยีสารสนเทศก้าวไกล เศรษฐกิจไทยมั่นคง
  • 2539 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล พัฒนาชาติไทยให้ก้าวหน้า
  • 2540 พัฒนาคน พัฒนาชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 2541 พัฒนาเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์ พัฒนาชาติด้วยภูมิปัญญาไทย
  • 2542 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตไทยที่ยั่งยื่น
  • 2543 พัฒนาคน พัฒนาชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 2544 วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย
  • 2545 วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย
  • 2546 เส้นทางแห่งการค้นพบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คุณค่าแห่งภูมิปัญญา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • 2547 เศรษฐกิจของชาติมีปัญหา วิทยาศาสตร์มีคำตอบ
  • 2548 วิทยาศาสตร์คือความรู้สู่ความสำเร็จ
  • 2549 เศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่ไทย ก้าวไกลด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • 2550 วิทยาศาสตร์สร้างปัญญาในสังคม
  • 2551 วิทยาศาสตร์สร้างชาติ สร้างอนาคต
  • 2552 วิทยาศาสตร์ก้าวไกล นำไทยก้าวหน้า
  • 2553 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์

http://th.wikipedia.org/wiki/วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ