วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การแนะแนวอาชีพ


การแนะแนวอาชีพ (Vocational Guidance)

          การแนะแนวอาชีพ เป็นกระบวนการเพื่อส่งเสริมให้บุคคลตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพได้ตรงกับความถนัด ความสนใจ บุคลิกภาพ และทักษะ ของตนเอง และให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน

การบริการแนะแนวอาชีพของกรมการจัดหางาน
          คือการให้ข้อมูล การแนะแนว แนะนำ หรือ บริการให้คำปรึกษา ซึ่งดำเนินการโดยกรมการจัดหางานจะให้บริการในเรื่อง ต่าง ๆ ดังนี้
ข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงาน
ข้อมูลอาชีพ
แนวทางในการตัดสินใจเลือกอาชีพ
การให้คำปรึกษาด้านอาชีพผู้อยู่ในกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการใช้บริการ สามารถติดต่อได้ที่สำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ 1-10 และผู้ที่อยู่ต่างจังหวัดติดต่อได้ที่สำนักงานจัดหางานทุกจังหวัด
ศูนย์ข้อมูลอาชีพ

หลักการสำคัญของการแนะแนวอาชีพ
          การแนะแนวอาชีพมีหลักการว่า หากบุคคลใดได้ศึกษาหรือทำงานที่ตรงกับความถนัด ความ สนใจ และอุปนิสัยใจคอแล้ว เขาย่อมมีความสุขและ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าการที่ต้องปฏิบัติงานในสิ่งที่ไม่ชอบ ไม่ถนัด หรือไม่เหมาะสมกับอุปนิสัยของตน ดังนั้น ในการแนะแนวอาชีพ จึงต้องคำนึงถึงหลักการสำคัญดังต่อไปนี้ คือ
     1) การแนะแนวอาชีพ เป็นการพัฒนาคนให้มีความสามารถ และมีโอกาสใช้ ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ในการผลิตงานที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม และทำให้บุคคลนั้นเกิดความสุขจากความสำเร็จในการทำงาน
     2) การแนะแนวอาชีพ เป็นกระบวนการต่อเนื่องโดยมีขั้นตอนตั้งแต่การช่วยบุคคลให้ :-
         2.1 รู้จักตนเองว่าตนมีความถนัด มีความสนใจ มีความสามารถ บุคลิกภาพเป็นเช่นไร จะได้เลือกงานได้ถูกต้อง
         2.2 รู้จักข้อมูลทางอาชีพอย่างกว้างขวางและแจ่มแจ้งว่า อาชีพต่าง ๆ มีลักษณะอย่างไร ต้องการคนที่มีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง และมีทัศนคติที่ดีต่อ สัมมาชีพ
         2.3 รู้จักตัดสินใจเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับตน โดยพิจารณาโอกาส ความเป็นไปได้ทั้งด้านคุณสมบัติของตนเองและความต้องการด้านกำลังคนใน อาชีพนั้น ๆ
         2.4 ได้มีโอกาสศึกษา ฝึกฝน อบรม หรือได้สัมผัสอาชีพนั้น ๆ ตามความเหมาะสมกับวัย เพื่อให้เกิดทักษะ ความสามารถที่จะออกไปประกอบอาชีพได้ ทันที หรือในบางกรณี เพื่อเป็นการสร้างพื้นฐานและเพื่อเป็นการเตรียมตัวสำหรับการประกอบอาชีพของตนในอนาคต โดยมีการศึกษาฝึกฝนเพิ่มเติม
         2.5 การแนะแนวอาชีพเป็นกระบวนการที่ต้องการความร่วมมือจากทุก ๆ ฝ่าย การจัดบริการแนะแนวอาชีพในสถานศึกษาจำเป็นต้องอาศัยความร่วม มือจากบุคคลทุกฝ่าย ในสถานศึกษานั้น และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนความร่วมมือของชุมชนในท้องถิ่นที่สถานศึกษาหรือหน่วยงานนั้นตั้งอยู่ จึงจะ ทำให้งานแนะแนวอาชีพเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลครอบคลุมในทุกด้าน
         2.6 การแนะแนวอาชีพเป็นกระบวนการที่มุ่งให้บุคคลตัดสินใจด้วยตนเอง โดยยึดหลักในเรื่องของการให้บุคคลเป็นผู้กำหนดชีวิตของตน
         2.7 มีงานทำหลังจากสำเร็จการศึกษา ซึ่งจะเป็นอาชีพอิสระหรืออาชีพรับจ้างแล้วแต่กรณี
         2.8 ได้รับการดูแลและติดตามผล หลังจากที่จบการศึกษาออกไป ประกอบอาชีพแล้ว ว่าบุคคลนั้น ๆ มีความสามารถเหมาะสมกับงานเพียงใด สามารถ ปรับตัวให้เข้ากับงานได้หรือไม่ ได้ทำงานตรงตามความรู้ความสามารถหรือไม่ เพียงใด ควรมีการแก้ไขหรือปรับปรุงในด้านใดบ้าง ทั้งนี้ ควรมีโครงการต่อ เนื่องในการเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ ระหว่างปฏิบัติงาน (In Service Training) ด้วย
ประโยชน์ของการแนะแนวอาชีพ
     1. รู้จักเลือกอาชีพที่เหมาะสมกับความสามารถของตน เช่น ความถนัด ความสามารถ ความสนใจ บุคลิกภาพ ความต้องการของตนเอง เป็นต้น
     2. ให้รู้จักโลกของงานอาชีพ เช่น อาชีพต่าง ๆ ที่อยู่ในชุมชนนั้น ๆ ลักษณะงานของอาชีพ คุณสมบัติของบุคคลที่จะประกอบอาชีพ หรืองานย่อยในอาชีพ ต่าง ๆ ความก้าวหน้า รายได้ ความมั่นคง การฝึกอบรมที่จะเข้าสู่อาชีพต่าง ๆ
     3. ให้รู้จักเตรียมตัวเพื่อประกอบอาชีพ เช่น การเข้ารับการอบรมในอาชีพต่าง ๆ เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในอาชีพนั้น ๆ เช่น การซ่อมคอมพิวเตอร์ การแสวงหางาน การสมัครงาน การเข้ารับการสัมภาษณ์ เป็นต้น

ความสำคัญของการเลือกอาชีพ
          เนื่องจากอาชีพมีความสำคัญต่อมนุษย์มากดังที่ได้กล่าวมาแล้ว การเลือกประกอบอาชีพจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์เป็นอันมาก ในสังคมของเรามีอาชีพ มากมายหลายชนิด เช่น อาชีพนักแสดง นักธุรกิจ และนักวิทยาศาสตร์ เป็นต้น อาชีพแต่ละอาชีพก็มีความแตกต่างกันมาก อาชีพบางอย่างก็อาจเหมาะสมกับ บุคลิกภาพคนหนึ่ง แต่ก็อาจมาสอดคล้องกับบุคลิกภาพของอีกคนหนึ่ง การเลือกประกอบอาชีพให้เหมาะสมกับบุคลิกภาพ ความสนใจ ความถนัดของแต่ละ บุคคล จึงมีความสำคัญมาก คนที่เลือกประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับตน ย่อมก่อให้เกิดความเพลิดเพลินและเกิดความสุขในการทำงานและยังมีโอกาสที่ จะประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพมาก ในทางตรงข้าม ถ้าบุคคลประกอบอาชีพที่ไม่เหมาะสมกับตนเองแล้ว ก็จะเกิดความเบื่อหน่ายในการทำงาน เนื่องจากคนเราต้องใช้เวลาประกอบอาชีพภายหลังจากการศึกษาเป็นเวลาช้านาน ซึ่งการที่จะต้องอดทนต่อกิจกรรมที่น่าเบื่อหน่ายเป็นระยะเวลาอันแสนนาน เช่นนี้ จึงทำให้ชีวิตของคนไม่มีความสุข การประกอบอาชีพที่ไม่เหมาะสม หรือไม่สอดคล้องกับบุคลิกภาพ ความสนใจความถนัด นอกจากมีโอกาสประสบ ความสำเร็จในการประกอบอาชีพน้อยแล้ว ยังเป็นการทรมานชีวิตอย่างหนึ่งอีกด้วย
          การเลือกประกอบอาชีพที่ไม่เหมาะสมกับตนเองยังก่อให้เกิดผลเสียต่อประเทศชาติเป็นอันมากอีกด้วย ดังนั้น การประกอบอาชีพเกือบทุกชนิดจะต้อง มีการเตรียมตัว คือ การศึกษาเล่าเรียน อาชีพบางอย่างต้องใช้เวลาในการศึกษาเล่าเรียนหลายปี จึงควรจะต้องมีการศึกษาการประกอบอาชีพอย่างรอบคอบ

http://www.doe.go.th/vgnew/guide/index.asp

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น