วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

การดูแลความปลอดภัย


กลไกการดูแลความปลอดภัย


กลไกในการกำกับดูแลความปลอดภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศไทย
การควบคุมดูแลความปลอดภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ตามมาตรฐานของทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศนั้น ได้กำหนดให้มีการตรวจสอบติดตามควบคุมความปลอดภัยตั้งแต่เริ่มโครงการ ตั้งแต่การเลือกสถานที่ตั้งจนกระทั่งการรื้อถอนเลิกใช้งานโรงไฟฟ้า และให้รวบรวมข้อมูลทางเทคนิคทำในรูปแบบรายงาน เรียกว่า " รายงานการวิเคราะห์ความปลอดภัย "เพื่อประกอบการพิจารณาออกใบอนุญาตดำเนินการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยเป็นรายงานอีกประเภทหนึ่งซึ่งต้องจัดทำเพิ่มเติมนอกเหนือจากรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติเป็นหน่วยงานทำหน้าที่ในการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์และควบคุมการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างปลอดภัย ซึ่งในขณะนี้อยู่ในระหว่างการปรับปรุง แยกงานส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์กับงานควบคุมความปลอดภัยออกจากกันเพื่อให้การดำเนินการควบคุมและกำกับดูแลความปลอดภัยเป็นอิสระ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์เพื่อป้องกันความโน้มเอียงที่อาจเกิดขึ้น ตามมาตรฐานความปลอดภัยของทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ
ข้อดี - ข้อเสียยูเรเนียมหรือพลูโตเนียมเพียง1กิโลกรัมให้พลังงานเทียบเท่าถ่านหิน 3 ล้านกิโลกรัม นอกจากนั้นการใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหิน หรือน้ำมันปิโตรเลียม จะก่อให้เกิดภาวะมลพิษในอากาศถึงวันละ 20,000เมตริกตันในขณะที่ปฏิกิริยาฟิชชันในปฏิกรณ์นิวเคลียร์ไม่ก่อให้เกิดภาวะมลพิษในอากาศ และไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งทำให้โลกร้อนขึ้นออกมาแต่การทำเหมืองยูเรเนียม และการสกัดU235ก็สร้างความเสียหายให้แก่สิ่งแวดล้อมของโลกได้ เช่นกันการใช้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชันภายในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เพื่อผลิตไฟฟ้ายังมีข้อเสียอื่นๆอาทิ เช่น น้ำที่ใช้ในการระบายความร้อนของเตาปฏิกรณ์ซึ่งจะมีอุณหภูมิสูงมาก จะต้องทำให้เย็น ปัญหาของการรั่วไหลของกัมมันตรังภาพรังสี และที่สำคัญที่สุดคือ ปัญหาจาก กากนิวเคลียร์หรือขยะนิวเคลียร์กากนิวเคลียร์ คือ แท่งพลังงานในเตาปฏิกรณ์ที่ใช้หมดแล้วแท่งพลังงานนี้จะมีกัมมันภาพรังสีสูงมาก และเป็นอันตรายอย่างมากกว่าที่กากนิวเคลียร์นี้จะแผ่นกัมมันภาพรังสีหมด จะต้องใช้เวลามากกว่า25,000ปี และในปัจจุบันมนุษย์เราก็ยังไม่มีวิธีที่ดีในการกำจัดกากนิวเคลียร์เหล่านี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น