วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัติเพลงพวงมาลัย

เพลงพวงมาลัย
เพลงพวงมาลัย  นิยมเล่นในงานนักขัตฤกษ์งานมงคล เช่น บวชนาค ทอดกฐิน และลอยกระทง เป็นต้น แต่เดิมมักจะร้องเล่นควบคู่กับการเล่นกีฬาพื้นเมือง คือ ช่วงชัย หรือการเล่นลูกช่วง นั่นเอง ผู้ที่ถูกปาด้วยลูกช่วงจะต้องรำ ขณะที่ผู้ถูกปารำนั้น ผู้ที่ยืนล้อมอยู่จะร้องเพลงพวงมาลัย ถ้าฝ่ายหญิงรำฝ่ายชายจะร้องเพลงเกี้ยว ถ้าฝ่ายชายรำ ฝ่ายหญิงจะร้องเพลงว่าต่าง ๆ นานา บางทีก็จะร้องโต้ตอบไต่ถามบ้านช่องซึ่งกันและกัน การร้องเพลงพวงมาลัยเล่นได้ทั้งบนบกและในเรือ
            วิธีเล่นและวิธีร้อง ชายหญิงตั้งวงกลมมีพ่อเพลงและแม่เพลงข้างละคน นอกนั้นเป็นลูกคู่มีหน้าที่คอยรับและปรบมือให้จังหวะพร้อมกัน คำร้องเป็นการเกี้ยวพาราสีเป็นกลอนสดว่าแก้กัน ฝ่ายใดร้องก็ต้องมารำกลางวง การรับผิดกับเพลงฉ่อย คือลูกคู่รับเฉพาะวรรคต้นกับวรรคท้ายตอนจบเท่านั้น การขึ้นเพลงมักขึ้นว่า "เอ้อระเหย"
ปัจจุบันการเล่นบนเวทีจัดเป็นสองฝ่าย ชาย - หญิง ว่าแก้กันเป็นคู่การร้องเป็นการร้องเป็นท่อนยาว ๆ หลาย ๆ ท่อน หรือเป็น ท่อนสั้น ๆ เรียกว่า เพลง"พวงมาลัยหล่น" บางครั้งใช้กลองประกอบ บางครั้งก็ใช้แต่เสียงปรบมือ
เพลงพวงมาลัย มีประโยชน   ดังนี้
๑.   สร้างความบันเทิงสนุกสนาน เพลิดเพลิน เพราะมักเป็นเรื่องเกี้ยวพาราสีปะทะคารมระหว่าง ฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ซึ่งเรียกเสียงฮาจากผู้ฟังได้ เพราะมีจังหวะสนุก ฟังแล้วคึกคัก สนุกสนาน
๒. ช่วยกระจายข่าวสารหรือประชาสัมพันธ์เรื่องราวต่างๆ ในชุมชน
๓. ให้ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม ได้แก่การดำเนินชีวิต ค่านิยมต่างๆ ในสังคม หรือ ความรู้เกี่ยวกับ พระพุทธศาสนา ทั้งส่วนที่เป็นพุทธประวัติ และส่วนที่เป็นหลักธรรมะ
๔. สร้างความสามัคคี ทำให้มีกิจกรรมร่วมกันได้
๕. บันทึกเหตุการณ์ เล่าประวัติศาสตร์ และวิพากษ์วิจารณ์สังคม
๖. รักษาบรรทัดฐานของสังคม เพลงพื้นบ้านจะมีเนื้อหาสาระที่คอยย้ำเตือน สอนให้คนยึดมั่น อยู่ในจารีต ประเพณี แม้    บางครั้งผูกเป็นเรื่องชิงรักหักสวาทก็ต้องมีการร้องให้เป็นคติสอนใจเสมอ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น