วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ศาสนาพุทธ

ศาสนาพุทธ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของศาสนาพุทธ

สถานีย่อย

Dham-jak.gif
ประวัติศาสนาพุทธ
ศาสดา
พระโคตมพุทธเจ้า
(พระพุทธเจ้า)
จุดมุ่งหมาย
นิพพาน
ไตรรัตน์
พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
ความเชื่อและการปฏิบัติ
ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม)
สมถะ · วิปัสสนา
บทสวดมนต์และพระคาถา
คัมภีร์และหนังสือ
พระไตรปิฎก
พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก
หลักธรรมที่น่าสนใจ
ไตรลักษณ์
อริยสัจ ๔ · มรรค ๘ · อิทัปปัจจยตา
นิกาย
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน
สังคมศาสนาพุทธ
ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล
การจาริกแสวงบุญ
พุทธสังเวชนียสถาน ·
การแสวงบุญในพุทธภูมิ
ดูเพิ่มเติม
อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ
หมวดหมู่ศาสนาพุทธ
ศาสนาพุทธ หรือที่ราชบัณฑิตยสถานและราชการไทยเรียกว่าพระพุทธศาสนา[1][2][3] เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพุทธบริษัทเป็นชุมชนของผู้นับถือศาสนาและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระศาสดา และเพื่อสืบทอดพระธรรมแห่งพุทธศาสนา
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธสอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเองด้วยผลแห่งการกระทำของตน มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกาย[4] คือ ให้พึ่งตนเอง[5] เพื่อพาตัวเองออกจากกองทุกข์[6] มีจุดมุ่งหมายคือการสอนให้มนุษย์หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงในโลกด้วยวิธีการสร้าง "ปัญญา" ในการอยู่กับความทุกข์อย่างรู้เท่าทันตามความเป็นจริง วัตถุประสงค์สูงสุดของศาสนา คือ การหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง เช่นเดียวกับที่พระศาสดาทรงหลุดพ้นได้ด้วยกำลังสติปัญญาและความเพียรของพระองค์เอง ในฐานะที่พระองค์ก็ทรงเป็นมนุษย์ มิใช่เทพเจ้าหรือทูตของพระเจ้าองค์ใด[7]
พระศาสดาของศาสนาพุทธคือพระโคตมพุทธเจ้า พระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ได้ทรงเริ่มออกเผยแผ่คำสอนในชมพูทวีป ตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่หลังปรินิพพานของพระพุทธเจ้า พระธรรมวินัยที่พระองค์ทรงสั่งสอน ได้ถูกรวบรวมเป็นหมวดหมู่ด้วยการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก[8] จนมีการรวบรวมขึ้นเป็นพระไตรปิฎก ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดของ นิกายเถรวาท ที่ยึดหลักไม่ยอมเปลี่ยนแปลงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แต่ในการสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่สอง ได้เกิดแนวคิดที่เห็นต่างออกไป[9] ว่าธรรมวินัยสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามเวลาและสถานการณ์เพื่อความอยู่รอดของพุทธศาสนา[10] แนวคิดดังกล่าวจึงได้เริ่มก่อตัวและแตกสายออกเป็นนิกายใหม่ในชื่อของ นิกายมหายาน ทั้งสองนิกายได้แตกนิกายย่อยไปอีกและเผยแพร่ออกไปทั่วดินแดนเอเชียและใกล้เคียง
ปัจจุบันศาสนาพุทธได้เผยแผ่ไปทั่วโลก โดยมีจำนวนผู้นับถือส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย ทั้งในเอเชียกลาง เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศไทย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชน ปัจจุบันศาสนาพุทธได้มีผู้นับถือกระจายไปทั่วโลก หากนับจำนวนรวมกันแล้วอาจมากกว่า 500 ล้านคน[11][12][13][14]

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] องค์ประกอบของพุทธศาสนา

[แก้] สิ่งเคารพสูงสุด

ที่พึ่งอันประเสริฐของศาสนาพุทธเรียกว่า พระรัตนตรัย อันประกอบด้วย พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ โดย "พระพุทธเจ้า" ทรงตรัสรู้ "พระธรรม" แล้วทรงสั่งสอนให้พระภิกษุได้รู้ธรรมจนหลุดพ้นตามในที่สุด ทรงจัดตั้งชุมชนของพระภิกษุให้อยู่ร่วมกันอย่างผาสุกด้วยการบัญญัติพระวินัยเพื่อเป็นกติกาในการอยู่ร่วมกันระหว่างศึกษาพระธรรม และฝึกฝนตนเองให้หลุดพ้น เรียกว่า "พระสงฆ์" แล้วทรงมอบหมายให้พระสงฆ์ทั้งหลายเผยแผ่พระธรรม เพื่อประโยชน์สุขของสัตว์โลกทั้งปวง

[แก้] ศาสดา

การปฐมเทศนาของพระโคตมพุทธเจ้า
ศาสดาของศาสนาพุทธ คือ พระโคตมพุทธเจ้า ทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงประสูติในดินแดนชมพูทวีป ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 80 ปีก่อนพุทธศักราช ณ สวนลุมพินีวัน เจ้าชายสิทธัตถะผู้เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา ทรงดำรงตำแหน่งรัชทายาท ผู้สืบทอดราชบัลลังก์กรุงกบิลพัสดุ์แห่งแคว้นศากยะ[15] และเมื่อพระชนมายุ 16 ชันษา ทรงอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงยโสธราแห่งเมืองเทวทหะ ต่อมาเมื่อพระชนมายุ 29 ชันษา ทรงมีพระโอรสกับเจ้าหญิงยโสธรา 1 พระองค์พระนามว่า ราหุล[16]
ในปีเดียวกันนี้เองที่พระองค์ทรงตัดสินพระทัยออกผนวชเป็นสมณะ เพื่อแสวงหาทางหลุดพ้นอันนำไปสู่การบรรลุความหลุดพ้นจากทุกข์ คือ ความแก่ เจ็บ และตาย ในปีเดียวกันนั้น ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานที[17] และหลังจากออกผนวชมา 6 พรรษา ทรงประกาศการค้นพบว่าการหลุดพ้นจากทุกข์ทำได้ด้วยการฝึกจิตด้วยการเจริญสติ ประกอบด้วยศีล สมาธิ และปัญญา จนสามารถรู้ทุกสิ่งตามความเป็นจริงว่า เป็นทุกข์เพราะสรรพสิ่งไม่สมบูรณ์ ไม่แน่นอน และบังคับให้เป็นดั่งใจไม่ได้ จนไม่เห็นสิ่งใดควรยึดมั่นถือมั่นหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง จวบจนได้ทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ[18] คือ การตรัสรู้ อริยสัจ 4 ขณะมีพระชนมายุได้ 35 ชันษา ที่ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม จากนั้นพระองค์ได้ออกประกาศสิ่งที่พระองค์ตรัสรู้ตลอดพระชนม์ชีพ เป็นเวลากว่า 45 พรรษา ทำให้ศาสนาพุทธดำรงมั่นคงในฐานะศาสนาอันดับหนึ่งอยู่ในชมพูทวีปตอนเหนือ[19] จวบจนพระองค์ได้เสด็จปรินิพพาน เมื่อพระชนมายุได้ 80 พระชันษา ณ สาลวโนทยาน (ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6)[20]

[แก้] คัมภีร์

คัมภีร์หลักในพระพุทธศาสนา
พระไตรปิฎกเถรวาท
๔๕ เล่ม
Mahajula Tripiṭaka.jpg
  พระวินัยปิฎก  
  
                                
คัมภีร์
สุตตวิภังค์
คัมภีร์
ขันธกะ
คัมภีร์
ปริวาร
        
  
  พระสุตตันตปิฎก  
  
                                            
คัมภีร์
ทีฆนิกาย
คัมภีร์
มัชฌิมนิกาย
คัมภีร์
สังยุตตนิกาย
           
  
  
                                                        
คัมภีร์
อังคุตตรนิกาย
คัมภีร์
ขุททกนิกาย
              
  
  พระอภิธรรมปิฎก  
  
                                                
สงฺวิภงฺธา
ปุ.
กถายมกปัฏฐานปกรณ์
            
  
     
หลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนา ในยุคก่อนจะบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ใช้วิธีท่องจำ (มุขปาฐะ) โดยใช้วิธีการแบ่งให้สงฆ์หลาย ๆ กลุ่มรับผิดชอบท่องจำในแต่ละเล่ม เป็นเครื่องมือช่วยในการรักษาความถูกต้องของหลักคำสอน จนได้มีการบันทึกพระธรรมและพระวินัยเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นภาษาบาลี รักษาไว้ในคัมภีร์เรียกว่า "พระไตรปิฎก" ซึ่งสามารถแยกออกได้เป็น 3 หมวดหลัก ได้แก่
  1. วินัยปิฎก ว่าด้วยวินัยหรือศีลของภิกษุ ภิกษุณี
  2. สุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมทั่วไป และเรื่องราวต่าง ๆ
  3. อภิธรรมปิฎก ว่าด้วยธรรมะที่เป็นปรมัตถ์ธรรม หรือธรรมะที่แสดงถึงสภาวะล้วน ๆ ไม่มีการสมมุติ

[แก้] ผู้สืบทอด

ผู้สืบทอดในทางศาสนาพุทธ ได้แก่ พุทธบริษัท 4 อันหมายถึง พุทธศาสนิกชน พุทธมามกะ พุทธสาวก อันเป็นกลุ่มผู้ร่วมกันนับถือ ร่วมกันศึกษา และร่วมกันรักษาพุทธศาสนาไว้
  • ผู้นับถือศาสนาพุทธที่ได้บวชเพื่อศึกษา ปฏิบัติตามคำสอน (ธรรม) และคำสั่ง (วินัย) และมีหน้าที่เผยแผ่พระธรรมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระภิกษุสงฆ์ ในกรณีที่เป็นเพศชาย และ พระภิกษุณีสงฆ์ ในกรณีที่เป็นเพศหญิง
  • สำหรับผู้บวชที่ตั้งแต่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ 20 ปี จะเรียกว่าเป็น สามเณร สำหรับเด็กชาย และ สามเณรีและสิกขมานา (สามเณรีที่ต้องไม่ผิดศีล 6 ข้อตลอด 2 ปี) สำหรับเด็กหญิง ลักษณะการบวชสำหรับภิกษุหรือภิกษุณี จะเรียกเป็นการอุปสมบท สำหรับสามเณรหรือสามเณรีและสิกขมานา จะเรียกเป็นการ บรรพชา
  • ส่วนผู้นับถือที่ไม่ได้บวชจะเรียกว่า "ฆราวาส" หรืออุบาสก ในกรณีที่เป็นเพศชาย และอุบาสิกา ในกรณีที่เป็นเพศหญิง

[แก้] ประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนา

ดูบทความหลักที่ ประวัติพุทธศาสนา
หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ได้เสด็จไปโปรดพระปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี พระองค์ได้ทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่พระปัญจวัคคีย์ พระโกณฑัญญะบรรลุเป็นพระโสดาบัน และกราบทูลขอบวช นับเป็นพระสงฆ์องค์แรกในโลก ในสมัยพุทธกาล พระองค์ได้เสด็จไปเผยแผ่พุทธศาสนาตามที่ต่าง ๆ ในชมพูทวีปเป็นเวลานานกว่า 45 พรรษา จนกระทั่งปรินิพพาน
ภายหลังการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ได้เกิดความขัดแย้งอันเกิดจากการตีความพระธรรมคำสอนและพระวินัยไม่ตรงกัน จึงมีการแก้ไขโดยมีการจัดทำสังคายนาร้อยกรองพระธรรมวินัยที่ถูกต้องไว้เป็นหลักฐานสำหรับยึดถือเป็นแบบแผนต่อไป จึงนำไปสู่การทำสังคายนาพระไตรปิฎก ในการทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 2 นี้เองที่พระพุทธศานาแตกออกเป็นหลายนิกายกว่า 20 นิกาย[21] และในการทำสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 3 ในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ได้ทรงแต่งสมณทูต 9 สายออกไปเผยแผ่พุทธศาสนา จนกระทั่งพุทธศาสนาแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวาง
ศาสนาพุทธมีความเจริญรุ่งเรืองและความเสื่อมถอยสลับกัน เนื่องจากการส่งเสริมของผู้มีอำนาจปกครองในแต่ละท้องถิ่น แต่ในภาพรวมแล้ว พุทธศาสนาในอินเดียเริ่มอ่อนแอลงหลังพุทธศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา โดยศาสนาฮินดูได้เข้ามาแทนที่ เช่นเดียวกับการเสื่อมถอยของพุทธศาสนาในเอเชียกลาง จีน เกาหลี ในขณะที่ศาสนาพุทธได้เข้าไปตั้งมั่นอยู่ในญี่ปุ่น และประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 25 ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ศาสนาพุทธเริ่มเป็นที่ดึงดูดใจของชาวตะวันตกมากขึ้น และได้มีการตั้งองค์กรทางพุทธศาสนาระดับโลกโดยชาวพุทธจากเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือรวม 27 ประเทศที่ศรีลังกาเมื่อ พ.ศ. 2493 ในชื่อ "องค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก"[22]

[แก้] หลักธรรมสำคัญของพุทธศาสนา

ศาสนาพุทธสอนว่า การเกิด แก่ เจ็บ และตาย ล้วนเป็นทุกข์ ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเจ้า และเชื่อว่าโลกนี้เกิดขึ้นจากกฎแห่งธรรมชาติ 5 ประการ อันมี กฎแห่งสภาวะ (อุตุนิยาม) มีธาตุทั้ง 5 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศ ที่เปลี่ยนสถานะเป็นธาตุต่าง ๆ กลับไปกลับมา กฎแห่งชีวิต (พีชนิยาม) คือกฎสมตา(ปรับสมดุล) กฎวัฏฏตา(หมุนวนเวียน)และกฎชีวิตา(มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน) ที่ทำให้เกิดชีวิตินทรีย์ รวมทั้งกฎแห่งวิญญาน (จิตนิยาม) คือนามธาตุที่กลายเป็น ธรรมธาตุ7 ที่เป็นไปตาม กฎแห่งเหตุผล (กรรมนิยาม) และ กฎไตรลักษณ์ (ธรรมนิยาม) กฎไตรลักษณ์เป็นสิ่งที่ทำให้มีการสร้าง ดำรงรักษาอยู่ และทำลายไปของทุกสรรพสิ่ง เมื่อย่อกฎทั้ง 3 แล้ว จะเหลือเพียง ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป[23]

[แก้] วัฏสงสาร

ดูบทความหลักที่ วัฏสงสาร

[แก้] กฎแห่งกรรม

ดูบทความหลักที่ กฎแห่งกรรม
กฎแห่งกรรม คือกฎธรรมชาติที่ว่าด้วยการกระทำและผลของการกระทำ ซึ่งการกระทำกับผลนั้นย่อมมีความสัมพันธ์กันเช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

[แก้] อริยสัจ

ดูบทความหลักที่ อริยสัจ ๔
อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ ๔ เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

ทุกข์ ในทางศาสนาพุทธคือ ไตรลักษณ์ เป็นลักษณะสภาพพื้นฐานธรรมชาติอย่างหนึ่ง จากทั้งหมด 3 ลักษณะ ที่พุทธศาสนาได้สอนให้เข้าใจถึงเหตุลักษณะแห่งสรรพสิ่งที่เป็นไปภายใต้กฎไตรลักษณ์ อันได้แก่
  1. อนิจจัง (ความไม่เที่ยงแท้)
  2. ทุกขัง (ความทนอยู่อย่างเดิมได้ยาก)
  3. อนัตตา (ความไม่มีแก่นสาระ)

รูปภวจักร หรือสังสารจักรของทิเบต แสดงถึงอวิชชา ได้แก่ผลของการขาดปัญญาในการรู้ทันเหตุเกิดแห่งทุกข์ (สมุทัย) ทำให้ต้องจมเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกองทุกข์ทั้งปวงไม่จบสิ้น
เหตุแห่งทุกข์ (สมุทัย) ได้แก่ ปฏิจจสมุปบาท (หลักศรัทธาของพุทธศาสนา) พุทธศาสนา สอนว่า ความทุกข์ ไม่ได้เกิดจากสิ่งใดดลบันดาล หากเกิดแต่เหตุและปัจจัยต่างๆ มาประชุมพร้อมกัน โดยมีรากเหง้ามาจากความไม่รู้หรือ อวิชชา ทำให้กระบวนการต่างๆ ไม่ขาดตอน เพราะนามธาตุที่เป็นไปตามกฎนิยาม ตามกระบวนการที่เรียกว่ามหาปัฏฐาน ทำให้เกิดสังขารเจตสิกกฎเกณฑ์การปรุงแต่งซึ่งเป็นข้อมูลอันเป็นดุจพันธุ์กรรมของจิต วิวัฒนาการเป็นธรรมธาตุอันเป็นระบบการทำงานของนามขันธ์ที่ประกอบกันเป็นจิต( อันเป็นสภาวะที่รับรู้และเป็นไปตามเจตสิกของนามธาตุ) และเป็นวิญญาณขันธ์ ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นธาตุแสง (รังสิโยธาตุ) อันเกิดจากการทำงานของนามธาตุอย่างเป็นระบบ จนสามารถประสานหรือกำหนดกฎเกณฑ์รูปขันธ์ ของชีวิตินทรีย์(เช่นไวรัส แบคทีเรีย ต้นไม้ เซลล์ ที่มีชีวิตขึ้นมาเพราะกฎพีชนิยาม) ทำให้เหตุผลของรูปขันธ์เป็นไปตามเหตุผลของนามขันธ์ด้วย (จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว) ทำให้รูปขันธ์ที่เป็นชีวิตินทรีย์พัฒนามีร่างกายที่สลับซับซ้อนมีระบบการทำงานจนเกิดมีปสาทรูป 5 รวมการรับรู้ทางมโนทวารอีก 1 เป็นอายตนะทั้ง 6 และเกิดเป็นปัจจยาการ9 คือ
  1. เมื่ออายตนะกระทบกับสรรพสิ่งที่มากระทบจนเกิดผัสสะ
  2. จนเกิดเวทนา คือ ความสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง
  3. เมื่อได้สุขมาเสพก็ติดใจ
  4. อยากเสพอีก ทำให้เกิดความทะยานอยาก (ตัณหา)
  5. จึงเกิดการแสวงหาความสุขมาเสพ
  6. จนเกิดการสะสม
  7. นำมาซึ่งความตระหนี่
  8. หวงแหน
  9. จนในที่สุดก็ออกมา ปกป้องแย่งชิงจนเกิดการสร้างกรรม และยึดว่าสิ่งนั้นๆเป็นตัวกู (อหังการ) ของกู (มมังการ)
ทำให้มีอุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น)และจิตเมื่อประสบทุกข์ ก็สร้างสัญญาอันเป็นภูมิคุ้มกันทางจิตขึ้นมาเพื่อให้พ้นทุกข์(สมตา) เพราะมีสัญญาการสมมุติว่าเป็นสิ่งนั้นเป็นสิ่งนี้จึงมี เช่น คนตาบอดแต่เกิด เมื่อมองเห็นภาพตอนโตย่อมต้องอาศัยสมมุติว่าภาพที่เห็นเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ แต่เกิดการสำคัญผิดในมายาการของสัญญาเพราะจิตมีอวิชชา จึงมีความคิดเห็นเปรียบเทียบแบ่งสรรพสิ่งออกเป็นคู่ว่าแป็นโลกและบัญญัติว่าตนเองเป็นนั้นเป็นนี้ จึงเกิดจิตใต้สำนึก(ภพ)และสร้างกรรมขึ้นมา เพราะจิตต้องการพ้นทุกข์พบสุข ตามสติปัญญาที่มีของตน นั่นเอง
สู่การเวียนว่ายตายเกิดของจิตวิญญาณทั้งหลายนับชาติไม่ถ้วน ผ่านไประหว่าง ภพภูมิทั้ง 31 ภูมิ (มิติต่างๆ ตั้งแต่เลวร้ายที่สุด(นรก)ไปจนถึงสุขสบายที่สุด(สวรรค์)) ในโลกธาตุที่เหมาะสมในเวลานั้นที่สมควรแก่กรรม นี้เรียกว่า สังสารวัฏ
สำหรับการเวียนว่ายของจิตวิญญาณมีเหตุมาจาก "อวิชชา" คือความที่จิตไม่รู้ถึงความเป็นจริง ไปหลงผิดในสิ่งสมมุติต่างๆซึ่งเป็นรากเหง้าของกิเลสทั้งหลาย เมื่อจิตยังมีอวิชชาสัตว์โลกย่อมเวียนว่ายตายเกิด และประสบพบเจอพระไตรลักษณ์อันเป็นเหตุให้ประสพทุกข์มีความแก่และความตาย เป็นต้น ไม่สิ้นสุด จนกว่าจะทำลายที่ต้นเหตุคืออวิชชาลงได้
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งอิสระเสรีภาพ ด้วยการสร้าง "ปัญญา" ในการอยู่กับความทุกข์อย่างรู้เท่าทัน เพื่อบรรลุ วัตถุประสงค์ อันสูงสุดคือ นิพพาน คือการไม่มีความทุกข์ อย่างที่สุด หรือ การอยู่ในโลกอย่างไม่มีทุกข์ คือกล่าวว่า ทุกข์ทั้งปวงล้วนเกิดจากการยึดถือ ต่อเมื่อ "หมดการยึดถือ" จึงไม่มีอะไรจะให้ทุกข์ (แก้ที่ต้นเหตุของทุกข์ทั้งหมด)
ความดับทุกข์ (นิโรธ) คือ นิพพาน ( เป้าหมายสูงสุดของพุทธศาสนา ) อันเป็น แก่นของศาสนาพุทธ เป็นความสุขสูงสุด หรือเรียกอีกอย่างว่า
เนื่องจากธรรมดาของสัตว์โลกมีปกติทำความชั่วมากโดยบริสุทธิ์ใจในความเห็นแก่ตัว ทำดีน้อยซึ่งไม่บริสุทธิ์ใจ ซ้ำหวังผลตอบแทน จึงมีปกติรับทุกข์มากกว่าสุข ดังนั้น ถ้าเป็นผู้มีปัญญาหรือเป็นพ่อค้าที่ฉลาดยอมรู้ว่าขาดทุนมากกว่าได้กำไร และ สุขที่ได้เป็นเพียงมายา ย่อมปรารถนาในพระนิพพาน เมื่อ ขันธ์5 แตกสลาย เจตสิกที่ประกอบกันให้เกิดเป็นจิตนั้นก็แตกสลายตามเช่นเดียวกัน เพราะไม่มีเหตุปัจจัยจะประกอบกันให้เกิดเป็นจิตนั้น กรรมย่อมไม่อาจให้ผลได้อีก (อโหสิกรรม) เหลือเพียงแต่พระคุณความดีเมื่อมีผู้บูชาย่อมส่งผลกรรมดีให้แก่ผู้บูชาเหมือนคนตีกลอง กลองไม่รับรู้เสียง แต่ผู้ตีได้รับอานิสงส์เสียงจากกลอง
วิถีทางดับทุกข์ (มรรค) คือ มัชฌิมาปฏิปทา (หลักการดำเนินชีวิตของพุทธศาสนา) ทางออกไปจากสังสารวัฏมีทางเดียว โดยยึดหลักทางสายกลาง อันเป็นอริยมรรค คือ การฝึกสติ (การทำหน้าที่ของจิตคือตัวรู้ให้สมบูรณ์) เป็นวิธีฝึกฝนจิตเพื่อให้ถึงซึ่งความดับทุกข์หรือมหาสติปัฏฐาน โดยการปฏิบัติหน้าที่ทุกชนิดอย่างมีสติด้วยจิตว่างตามครรลองแห่งธรรมชาติ มีสติอยู่กับตัวเองในเวลาปัจจุบัน สิ่งที่กำลังกระทำอยู่เป็นสิ่งสำคัญกว่าทุกสรรพสิ่ง ทำสติอย่างมีศิลปะคือรู้ว่าเวลาและสถานการณ์เช่นนี้ ควรทำสติกำหนดรู้กิจใดเช่นไรจึงเหมาะสม จนบรรลุญานตลอดจน มรรคผล เมื่อจำแนกตามลำดับขั้นตอนของการบำเพ็ญเพียรฝึกฝนทางจิต คือ
  1. ศีล (ฝึกกายและวาจาให้ละเว้นจากการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น รวมถึงการควบคุมจิตใจไม่ให้ตกอยู่ในอำนาจฝ่ายต่ำด้วยการเลี้ยงชีวิตอย่างพอเพียง)
  2. สมาธิ (ฝึกความตั้งใจมั่นจนเกิดความสงบ (สมถะ) และทำสติให้รับรู้สิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง) (วิปัสสนา) ด้วยความพยายาม
  3. ปัญญา (ให้จิตพิจารณาธรรมชาติจนรู้ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นเช่นนั้นเอง (ตถตา) และตื่นจากมายาที่หลอกลวงจิตเดิมแท้ (ฐิติภูตัง))

[แก้] ปฏิจสมุปบาท

ดูบทความหลักที่ ปฏิจสมุปบาท

[แก้] ไตรลักษณ์

ดูบทความหลักที่ ไตรลักษณ์

[แก้] อิทัปปัจจยตา

ดูบทความหลักที่ อิทัปปัจจยตา

[แก้] เป็นเช่นนั้นเอง

ดูบทความหลักที่ ตถตา

[แก้] ความว่าง

ดูบทความหลักที่ สุญญตา

[แก้] ความหลุดพ้น

ดูบทความหลักที่ นิพพาน

[แก้] หลักปฏิบัติ

ศาสนาพุทธมุ่งเน้นเรื่องการพ้นทุกข์ และสอนให้รู้จักทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ให้พ้นจากความไม่รู้ความจริงในธรรมชาติ อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์จากกิเลสทั้งปวงคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง รวมทั้งเน้นการศึกษาทำความเข้าใจ การโยนิโสมนสิการด้วยปัญญา และพิสูจน์ทราบข้อเท็จจริง เห็นเหตุผลว่าสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี จนเห็นตามความเป็นจริงว่าสรรพสิ่งในธรรมชาติเป็นไปตามกฎพระไตรลักษณ์ และสัตว์โลกที่เป็นไปตามกฎแห่งกรรม แล้วเลือกใช้หลักธรรมในพุทธศาสนาที่เหมาะกับผลที่จะได้สิ่งที่ปรารถนาอย่างถูกต้อง ด้วยความไม่ประมาทในชีวิตให้มีความสุขในทั้งชาตินี้และชาติต่อ ๆ ไป ตลอดจนปรารถนาในพระนิพพานของผู้มีปัญญา

[แก้] ไตรสิกขา

ดูบทความหลักที่ ไตรสิกขา
การวางรากฐาน

[แก้] การเจริญสติ

ดูบทความหลักที่ สติ

[แก้] อริยมรรค

ดูบทความหลักที่ มรรค ๘

[แก้] ทางสายกลาง

ดูบทความหลักที่ มัชฌิมาปฏิปทา

[แก้] ศาสนสถาน

วัดอันเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวพุทธ ซึ่งเป็นสถานที่อยู่อาศัย หรือ ที่จำพรรษา ของ พระภิกษุ สามเณรตลอดจน แม่ชี เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมประจำวันของพระภิกษุสงฆ์ เช่น การทำวัตรเช้าและเย็น และสังฆกรรมในพระอุโบสถ อีกทั้ง ยังใช้ประกอบพิธีกรรมเช่นการเวียนเทียนเป็นต้นในวันสำคัญทางศาสนาพุทธ และยังเป็นศูนย์รวมในการมาร่วมกันทำกิจกรรมในทางช่วยกันส่งเสริมพุทธศาสนาเช่นการมาทำบุญในวันพระของแต่ละท้องถิ่นของพุทธศาสนิกชน อีกด้วย สำหรับประเทศไทย วัด จะมีองค์ประกอบพื้นฐาน คือ พระอุโบสถ หรือ โบสถ์ ใช้เป็นที่ทำสังฆกรรมต่างๆ กุฏิ ใช้เป็นที่จำวัดของภิกษุ/สามเณร บางวัดอาจมี ศาลาการเปรียญ เพิ่มเติม สำหรับใช้เป็นที่ทำบุญในวันพระและโรงเรียนพระปริยัติธรรมไว้ใช้ศึกษาธรรมะของภิกษุ/สามเณร วิหาร สถานที่เก็บพระพุทธรูปสำคัญ มณฑป สถานที่เปิดให้แสดงการสักการะต่อรูปเหมือนพระสงฆ์ที่น่านับถือ หอสวดมนต์ สถานที่ทำวัตรสวดมนต์เช้าเย็น เมรุ ที่กระทำการฌาปนกิจศพ (เผาศพ) ศาลาธรรมสังเวช สถานที่ประกอบพิธีกรรมแก่ผู้ล่างลับ หอไตร ที่เก็บรักษาพระไตรปิฎกและหนังสือทางพุทธศาสนาและหอระฆัง เป็นต้น
เจดีย์/สถูป เป็น สังเวชนียสถาน เพื่อรำลึกถึงพระพุทธเจ้า หรือบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในประเทศไทย มีเจดีย์สำคัญๆ หลายๆ แห่ง อาทิ พระปฐมเจดีย์ ที่จังหวัดนครปฐม

[แก้] พิธีกรรม

พิธีกรรมต่างๆในทางศาสนาพุทธรวมเรียกว่าศาสนพิธีในทางพุทธศาสนาพิธีกรรมที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างเป็นหลักการคือสังฆกรรมของพระภิกษุสงฆ์ และพิธีกรรมที่มีมาตามวัฒนธรรมคืออัญชลี (การประนมมือ) วันทา (การไหว้) และอภิวาท (การกราบ) รวมถึงการเวียนประทักษิณ (เดินวนขวาสามรอบหรือการเวียนเทียน) และการพรมน้ำมนต์ เนื่องจากศาสนาพุทธถือว่าพิธีกรรมเป็นเพียงอุบายในการช่วยให้เข้าสู่ความดีในผู้ที่ยังไม่เข้าถึงแก่นแท้ทางศาสนา จึงไม่จำกัดหรือเจาะจงแน่ชัดลงไป ดังนั้นพิธีกรรมของชาวพุทธจึงมีความยืดหยุ่นและเป็นไปตามวัฒนธรรมของชนชาตินั้นๆตามความชอบของสังคมนั้น ทำให้ประเพณีชาวพุทธทั่วโลกจึงมีลักษณะที่แตกต่างกัน อันเนื่องจากพุทธไม่ถือว่าวัฒนธรรมตนเป็นวัฒนธรรมเอกและเห็นวัฒนธรรมอื่นเป็นวัฒนธรรมรองจนต้องทำลายหรือดูดกลืนวัฒนธรรมของชนชาติอื่นๆ พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่จึงเป็นผู้ใจกว้างในความแตกต่างทางวัฒนธรรม ยินดีในความหลากหลายทางประเพณี ยอมรับในวัฒนธรรมที่แตกต่างของกันและกันได้ดี

[แก้] ลักษณะเด่นของพุทธศาสนา

ลักษณะเด่นของพุทธศาสนาที่สำคัญคือ ไม่มีพระผู้เป็นเจ้าและไม่มีการบังคับศรัทธา บางคนไม่เข้าใจในพระพุทธศานาอย่างถ่องแท้ เอาแต่อ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาที่เกิดในยุคที่สังคมอินเดียมีสภาพการณ์หลายอย่างที่วุ่นวาย เช่น มีการแบ่งแยกกดขี่ทางชนชั้นวรรณะของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ชัดเจน ถือชั้นวรรณะอย่างเข้มงวด มีความแตกต่างกันทางฐานะอย่างมากมาย (มีทั้งเศรษฐีมหาศาลและคนยากขาดแคลน) และลัทธิ ความเชื่อ ศาสดา อาจารย์เกิดขึ้นมากมาย ที่สอนหลักการยึดถือปฏิบัติอย่างผิดพลาด หรือสุดโต่ง เช่น การใช้สัตว์เป็นจำนวนมากเพื่อบวงสรวงบูชายัญ การบำเพ็ญทุกรกิริยาของนักบวชบางพวก การปล่อยชีวิตให้เป็นไปโดยไม่แก้ไขถือว่าเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า รวมถึงการกีดกันไม่ให้คนบางพวก บางกลุ่มเข้าถึงหลักการ หลักคำสอนของตนได้ เนื่องจากข้อจำกัดของชาติกำเนิด ฐานะ เพศ เป็นต้น แต่พุทธศาสนาเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงเป้าหมายสูงสุดได้เสมอกัน โดยไม่แบ่งแยกตามชั้นวรรณะ จึงเสมือนน้ำทิพย์ชโลมสังคมอินเดียโบราณให้ขาวสะอาดมากกว่าเดิม คำสอนของพุทธศาสนาทำให้สังคมโดยทั่วไปสงบร่มเย็น

[แก้] ศาสนาแห่งเหตุผล

พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความรู้ เพราะเป็นศาสนาที่เกิดจากพระอัจฉริยะภาพของพระพุทธองค์เอง จากปัญญาของพระองค์ ให้เสรีภาพในการพิจารณา ให้ใช้ปัญญาเหนือศรัทธา ในขณะที่บางศาสนาสอนว่าศาสนิกชนต้องมีศรัทธามาก่อนปัญญาเสมอ และต้องมีความภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าสูงสุด ผู้นับถือจะสงสัยในพระเจ้าไม่ได้ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งการศึกษา และการแสวงหาความจริง และส่งเสริม (ท้าทาย) ให้ศาสนิก พิสูจน์ หลักธรรมนั้นด้วยปัญญาของตนเอง ไม่สอนให้เชื่อง่ายโดยไม่ไตร่ตรองให้รอบคอบก่อน เช่น หลักกาลามสูตร

[แก้] ศาสนาแห่งอิสรภาพและเสรีภาพ

พุทธศาสนาไม่มีการบังคับ ให้คนศรัทธา หรือเชื่อ แต่ท้าทายให้เข้ามาเรียนรู้ และพิสูจน์หลักธรรม ด้วยตนเอง ศาสนาของพระพุทธเจ้าคือคำสอน ซึ่งทรงสอนให้ผู้ฟังใช้ปัญญาพิจารณาอย่างถ่องแท้ก่อนจะปลงใจเชื่อ ไม่ใช่เทวโองการ (Gospel) จากพระเจ้าซึ่งแย้งไม่ได้ พระสงฆ์หรือพุทธสาวกก็มิใช่มิชชันนารี ซึ่งมีภารกิจหลักคือจาริกไปชี้ชวนให้ใครต่อใครมานับถือพระศาสนา พระสงฆ์หรือพุทธสาวกมีหน้าที่เพียงอธิบายคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ คนที่สนใจฟังเท่านั้น ใครไม่สนใจฟัง ชาวพุทธก็ไม่เคยใช้กฎหมายหรือรัฐธรรมนูญบังคับให้นับถือ ไม่เคยตั้งกฎให้คู่รักศาสนิกของตนต้องเปลี่ยนศาสนาย้ายมานับถือก่อนจึงจะให้แต่งงานได้ ไม่เคยตั้งกองทุนให้การศึกษาฟรี แล้วสร้างเงื่อนไขให้ผู้รับทุนเปลี่ยนมาเป็นชาวพุทธ ไม่เคยสร้างที่พักอาศัยให้หรือแจกทานให้อาหารฟรีๆ แล้ววางเงื่อนไขให้คนมาขออาศัยตนต้องหันมานับถือศาสนาในภาวะจำยอม ความใจกว้างและมีหลักคำสอนที่เป็นสัจธรรม เชิญชวนให้มาพิสูจน์ด้วยการปฏิบัติเองและเน้นให้ใช้ปัญญาไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนนับถือ ทำให้ศาสนาพุทธได้รับการยอมรับจากวิญญูชนไปทั่วโลก นักปราชญ์ทั้งหลายทั้งในอดีต และปัจจุบันจึงกล่าวยกย่องว่าเป็นศาสนาที่ประกาศความเป็นอิสระของมนุษย์ให้ปรากฏแก่โลกยิ่งกว่าศาสนาใดๆที่มีมา ทั้งจุดมุ่งหมายเป็นอิสระจากกิเลสตัณหาและมายาสิ่งสมมุติทั้งปวง
ในอีกนัยหนึ่ง พุทธศาสนา สอนว่าทุกคนมีอิสระ และเสรีที่จะเลือกทำ เลือกเป็น เลือกสร้าง โลก ได้อย่างเต็มที่ด้วยตนเอง โดยการสร้างเหตุ และเตรียมปัจจัยให้พร้อม ที่จะทำให้เกิดผลอย่างที่ต้องการ (เมื่อเหตุและปัจจัยพร้อม ผลก็จะเกิดขึ้น) ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับ การดลบันดาลของใคร หรือกรรมเก่า (ที่เป็นเพียงแค่ปัจจัยหนึ่ง หรือเงื่อนไขหนึ่งเท่านั้น)

[แก้] ศาสนาอเทวนิยม

เพราะเหตุว่าศาสนาพุทธไม่เชื่อว่ามีพระเจ้า ไม่ยอมรับในอำนาจการดลบันดาลของพระเจ้า จึงจัดอยู่ในศาสนาประเภท อเทวนิยม ในความหมายที่ว่าไม่เชื่อว่า พระเจ้าบันดาลทุกสรรพสิ่ง ไม่เชื่อว่าพระเจ้าสร้างโลก พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ไม่ผูกติดกับพระผู้ดลบันดาล หรือพระเจ้า ไม่ได้ผูกมัดตนเองไว้กับพระเจ้า ไม่พึ่งพาอำนาจของพระผู้เป็นเจ้า เชื่อในความสามารถของมนุษย์ว่ามีศักยภาพเพียงพอ โดยไม่ต้องพึ่งอำนาจใดๆภายนอก เชื่อว่ามนุษย์เองสามารถปลดเปลื้องความทุกข์ได้โดยไม่รอการดลบันดาล และพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้โดยไม่มีใครสั่งสอน และไม่อ้างว่าเป็นทูตของพระเจ้า แต่หากจะเปรียบเทียบกับศาสนาอื่นที่มีพระเจ้า ชาวพุทธทุกคนคือพระเจ้าของตัวเอง เนื่องจากตัวเองเป็นคนกำหนดชะตาชีวิตของตัวเอง ว่าจะมีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตหรือมีความตกต่ำในชีวิต จากการประพฤติปฏิบัติของตัวเอง ดังคำพุทธพจน์ที่ว่า ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน ซึ่ง ต่างกับศาสนาที่มีพระเจ้าผู้เป็นใหญ่ ที่ชะตาชีวิตทั้งหมดล้วนเป็นสิ่งที่พระเจ้ากำหนดมาแล้วเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ไม่ว่าจะเจอเรื่องดีหรือร้ายก็ต้องทนรับชะตากรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

[แก้] ศาสนาแห่งสันติภาพ

ในกระบวนการนักคิดของโลก ศาสนาพุทธได้รับการยกย่องจากทั่วโลกว่า เป็นศาสนาแห่งสันติภาพอย่างแท้จริง เพราะไม่ปรากฏว่ามีสงครามศาสนาเกิดขึ้นในนามของพุทธศาสนา หรือเผยแผ่ศาสนาโดยการบังคับผู้อื่นให้มานับถือ สอนให้มีความรักต่อสรรพชีวิตใดๆไม่ใช่เพียงแค่มนุษย์รวมถึงสรรพสัตว์ทั้งหมด ที่ร่วม เกิด แก่ เจ็บ ตาย รักสุข-เกลียดทุกข์เช่นเดียวกับเรา สอนให้เมตตาทั้งผู้อื่นและตัวเอง สอนให้รักษาปกป้องสิทธิของตนเองและไม่ให้ละเมิดสิทธิของผู้อื่น สหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชา
เป็นวันสันติภาพโลก


http://th.wikipedia.org/wiki/ศาสนาพุทธ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น