วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การบูร

การบูร(Ka-ra-bun) PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันศุกร์ที่ 01 มกราคม 2010 เวลา 16:01 น.


การบูร (Ka-ra-bun), Camphor tree, Formosan camphor
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cinnamomum camphora T.Fries
Syn. : Camphora officinarum Nees.
Lauras camphora Linn.
วงศ์ LAURACEAE

ชื่ออื่นๆ

ไทย : อบเชยญวน (Op-choei-yuan)
เงี้ยว : พรมเส็ง (Phrom-seng)
มาเลเซีย : คาปูร์ ตอฮอร์ (Kapur tohor)

ถิ่นกำเนิด

ญี่ปุ่น มาเลเซีย จีน อินโดนีเซีย อินเดีย

รูปลักษณะ

ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ใบสีเขียวแก่เป็นมัน เป็นไม้ที่ชอบขึ้นในประเทศที่มีอากาศหนาว ดอกเล็กสีเหลืองมีผลสีชมพู มีรสหอมร้อน

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา

รับประทานแก้ปวดท้องจุกเสียด ธาตุพิการ ขับลมในลำไส้ แก้ไอ ขับเสมหะ ขับน้ำเหลือง ใช้เป็นยาทาเพื่อถอนพิษอักเสบชนิดเรื้อรัง
การบูรเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านสาขามาก สีเขียวตลอดปี เป็นไม้พื้นเมืองของจีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน การบูรจากธรรมชาติเป็นผลึกเล็กๆ เกิดอยู่ทั่วไปทั้งต้น มักจะอยู่ตามรอยแตกของเนื้อไม้ มีมากที่สุดในแก่นของราก ส่วนที่อยู่ใกล้โคนต้นจะมีมากกว่าส่วนที่อยู่ในระดับสูงขึ้นมา ส่วนมากการบูรจะละลายอยู่ในน้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในลำต้นของการบูร การผลิตในไต้หวันใช้กลั่นจากส่วนของลำต้น โดยใช้ลำต้นและรากจากพืชที่มีอายุเกิน 40 ปี นำมาเลื่อยและสับเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปกลั่นโดยใช้ไอน้ำ น้ำมันที่กลั่นได้จะอยู่ในภาชนะที่รองรับ ในภาชนะนั้นจะเห็นการบูรตกผลึกออกมาจากน้ำมันการบูร แยกผลึกออกมาอัดเป็นก้อน

ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 การปลูกและการผลิต การบูรจากธรรมชาติส่วนใหญ่มาจากไต้หวัน ซึ่งญี่ปุ่นยึดครองอยู่ การผลิตจึงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลญี่ปุ่น โดยมีข้อกำหนดว่าถ้าโคนต้นการบูรลง 1 ต้น จะต้องปลูกชดเชย 1 ต้น เพื่อไม่ให้สูญพันธุ์ เนื่องจากการบูรโตช้า และต้องรอนานกว่าจะนำมากลั่นได้ ในอเมริกาจึงใช้กลั่นจากใบและยอดอ่อน ผลที่ได้จะน้อยกว่า แต่มีข้อดีที่ผลิตได้เร็วกว่า และตลอดเวลาการเก็บใบจะเก็บได้เมื่อต้นมีอายุ 5 ปี ก็สามารถตัดใบและกิ่งมากลั่นได้แล้ว และหลังจากตัดใบแล้วประมาณ 2 เดือน ใบใหม่จะงอกขึ้นมาแทน เมื่อรวมแล้วอาจได้ผลผลิตมากกว่า และไม่เป็นการทำลายต้นไม้ด้วย ต่อมาได้มีการสังเคราะห์การบูรขึ้นมาใช้แทน ลักษณะและการนำมาใช้จะเหมือนกันคือลักษณะของการบูรเป็นผลึกเม็ดเล็กๆ มีกลิ่นหอมเฉพาะ และซ่า รสเผ็ดร้อน หอม และตามมาด้วยความรู้สึกเย็นซ่า ละลายน้ำได้น้อย เมื่อนำมาบดกับเมนทอล คลอรอลไฮเดรท ซาลอล แนพธอล หรือฟีนอล ในปริมาณเท่าๆ กันจะเกิดเป็นของเหลว การบูรสามารถบดเป็นผงละเอียดได้ถ้าใส่แอลกอฮอล์เล็กน้อย การบูรระเหิดได้ที่อุณหภูมิห้องทำให้เห็นจับกันเป็นผลึกอยู่ที่ผนังด้านในของภาชนะที่ใช้เก็บ การนำมาใช้ประโยชน์ ถ้าใช้ภายนอก จะมีฤทธิ์เฉพาะที่ต่อผิวหนัง และเนื้อเยื่อโดยทำเป็นยาเตรียมในรูปแบบของเหลว หรือกึ่งแข็ง ใช้ทาถูนวด แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แก้ปวดตามข้อ ทาเพื่อให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นมากๆ และอาจใช้ร่วมกับเมนทอล หรือฟีนอล ทาแก้อาการคันที่ผิวหนัง ใช้ภายในเป็นยาฆ่าเชื้อ และยาขับลม หรือใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ในกรณีที่คนไข้หยุดหายใจกระทันหัน หรือระบบไหลเวียนของโลหิตล้มเหลว โดยทำเป็นยาฉีดที่ละลายในน้ำมัน เช่น น้ำมันมะกอก เนื่องจากการบูรจะไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้มีผลต่อการหายใจและความดันโลหิต ในการใช้การบูรเป็นยาภายใน ถ้าใช้ในขนาดมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน มึนงง ชัก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ถ้าใช้ภายในจะใช้ขนาด 200 มิลลิกรัม ส่วนภายนอกจะใช้ 1-3% สารที่ใกล้เคียงกับการบูรคือ พิมเสน ซึ่งจะเกิดเป็นผลึกอยู่ในรอยแตกของเนื้อไม้ของต้นพิมเสน ขูดเอาผลึกออกมาได้โดยไม่ต้องกลั่น ผลึกคล้ายการบูร แต่ไม่ระเหิดที่อุณหภูมิห้อง ราคาจะแพงกว่าการบูร ใช้เป็นยาดมแก้วิงเวียน รับประทานแก้จุกเสียดแน่นท้อง อีกชนิดหนึ่งคือ สารที่ได้จากการกลั่นต้นหนาดหลวง มีลักษณะคล้ายการบูร ใช้กันมาในจีนและญี่ปุ่น

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ซึ่งมีส่วนประกอบของการบูรอยู่คือ พิมเสนน้ำ ซึ่งมีส่วนผสมเป็นเมนทอล พิมเสน การบูร การนำการบูรมาใช้มีข้อควรระวังคือ สมัยโบราณนำมาใช้ใส่ในตู้เสื้อผ้าเพื่อไล่แมลง กำจัดกลิ่นอับชื้น ปัจจุบันมีการบูรบรรจุในถุงที่สวยงาม เพื่อนำมาใช้กำจัดกลิ่นตามสถานที่ต่างๆ เช่น ในบ้านเรือน รถยนต์ ซึ่งถ้าอยู่ในที่จำกัด การบูรจะระเหิดออกมา เมื่อสูดดมเข้าไปมากๆ จะระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ การบูรเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีกิ่งก้านสาขามาก สีเขียวตลอดปี เป็นไม้พื้นเมืองของจีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน การบูรจากธรรมชาติเป็นผลึกเล็กๆ เกิดอยู่ทั่วไปทั้งต้น มักจะอยู่ตามรอยแตกของเนื้อไม้ มีมากที่สุดในแก่นของราก ส่วนที่อยู่ใกล้โคนต้นจะมีมากกว่าส่วนที่อยู่ในระดับสูงขึ้นมา ส่วนมากการบูรจะละลายอยู่ในน้ำมันหอมระเหยที่อยู่ในลำต้นของการบูร การผลิตในไต้หวันใช้กลั่นจากส่วนของลำต้น โดยใช้ลำต้นและรากจากพืชที่มีอายุเกิน 40 ปี นำมาเลื่อยและสับเป็นชิ้นเล็กๆ นำไปกลั่นโดยใช้ไอน้ำ น้ำมันที่กลั่นได้จะอยู่ในภาชนะที่รองรับ ในภาชนะนั้นจะเห็นการบูรตกผลึกออกมาจากน้ำมันการบูร แยกผลึกออกมาอัดเป็นก้อน

ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 การปลูกและการผลิต การบูรจากธรรมชาติส่วนใหญ่มาจากไต้หวัน ซึ่งญี่ปุ่นยึดครองอยู่ การผลิตจึงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลญี่ปุ่น โดยมีข้อกำหนดว่าถ้าโคนต้นการบูรลง 1 ต้น จะต้องปลูกชดเชย 1 ต้น เพื่อไม่ให้สูญพันธุ์ เนื่องจากการบูรโตช้า และต้องรอนานกว่าจะนำมากลั่นได้ ในอเมริกาจึงใช้กลั่นจากใบและยอดอ่อน ผลที่ได้จะน้อยกว่า แต่มีข้อดีที่ผลิตได้เร็วกว่า และตลอดเวลาการเก็บใบจะเก็บได้เมื่อต้นมีอายุ 5 ปี ก็สามารถตัดใบและกิ่งมากลั่นได้แล้ว และหลังจากตัดใบแล้วประมาณ 2 เดือน ใบใหม่จะงอกขึ้นมาแทน เมื่อรวมแล้วอาจได้ผลผลิตมากกว่า และไม่เป็นการทำลายต้นไม้ด้วย ต่อมาได้มีการสังเคราะห์การบูรขึ้นมาใช้แทน ลักษณะและการนำมาใช้จะเหมือนกันคือลักษณะของการบูรเป็นผลึกเม็ดเล็กๆ มีกลิ่นหอมเฉพาะ และซ่า รสเผ็ดร้อน หอม และตามมาด้วยความรู้สึกเย็นซ่า ละลายน้ำได้น้อย เมื่อนำมาบดกับเมนทอล คลอรอลไฮเดรท ซาลอล แนพธอล หรือฟีนอล ในปริมาณเท่าๆ กันจะเกิดเป็นของเหลว การบูรสามารถบดเป็นผงละเอียดได้ถ้าใส่แอลกอฮอล์เล็กน้อย การบูรระเหิดได้ที่อุณหภูมิห้องทำให้เห็นจับกันเป็นผลึกอยู่ที่ผนังด้านในของภาชนะที่ใช้เก็บ การนำมาใช้ประโยชน์ ถ้าใช้ภายนอก จะมีฤทธิ์เฉพาะที่ต่อผิวหนัง และเนื้อเยื่อโดยทำเป็นยาเตรียมในรูปแบบของเหลว หรือกึ่งแข็ง ใช้ทาถูนวด แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แก้ปวดตามข้อ ทาเพื่อให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณนั้นมากๆ และอาจใช้ร่วมกับเมนทอล หรือฟีนอล ทาแก้อาการคันที่ผิวหนัง ใช้ภายในเป็นยาฆ่าเชื้อ และยาขับลม หรือใช้ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ในกรณีที่คนไข้หยุดหายใจกระทันหัน หรือระบบไหลเวียนของโลหิตล้มเหลว โดยทำเป็นยาฉีดที่ละลายในน้ำมัน เช่น น้ำมันมะกอก เนื่องจากการบูรจะไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้มีผลต่อการหายใจและความดันโลหิต ในการใช้การบูรเป็นยาภายใน ถ้าใช้ในขนาดมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน มึนงง ชัก หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ถ้าใช้ภายในจะใช้ขนาด 200 มิลลิกรัม ส่วนภายนอกจะใช้ 1-3% สารที่ใกล้เคียงกับการบูรคือ พิมเสน ซึ่งจะเกิดเป็นผลึกอยู่ในรอยแตกของเนื้อไม้ของต้นพิมเสน ขูดเอาผลึกออกมาได้โดยไม่ต้องกลั่น ผลึกคล้ายการบูร แต่ไม่ระเหิดที่อุณหภูมิห้อง ราคาจะแพงกว่าการบูร ใช้เป็นยาดมแก้วิงเวียน รับประทานแก้จุกเสียดแน่นท้อง อีกชนิดหนึ่งคือ สารที่ได้จากการกลั่นต้นหนาดหลวง มีลักษณะคล้ายการบูร ใช้กันมาในจีนและญี่ปุ่น

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ซึ่งมีส่วนประกอบของการบูรอยู่คือ พิมเสนน้ำ ซึ่งมีส่วนผสมเป็นเมนทอล พิมเสน การบูร การนำการบูรมาใช้มีข้อควรระวังคือ สมัยโบราณนำมาใช้ใส่ในตู้เสื้อผ้าเพื่อไล่แมลง กำจัดกลิ่นอับชื้น ปัจจุบันมีการบูรบรรจุในถุงที่สวยงาม เพื่อนำมาใช้กำจัดกลิ่นตามสถานที่ต่างๆ เช่น ในบ้านเรือน รถยนต์ ซึ่งถ้าอยู่ในที่จำกัด การบูรจะระเหิดออกมา เมื่อสูดดมเข้าไปมากๆ จะระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น